วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บ้านคาร์บอนต่ำ

แนวทางการก้าวเดินสู่สังคมคาร์บอนต่ำคือกระแสของโลก ณ ตอนนี้ โครงการประกวดแนวความคิดออกแบบบ้านและอาคารตึกแถวคาร์บอนต่ำ ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน : อบก.) เชิญชวนให้ผู้สนใจส่งแบบบ้านเข้ามาประกวดตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และเลื่อนการรับผลงานออกไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน  สำหรับโครงการนี้มีเป้าหมาย เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการก่อสร้างบ้านและอาคารตึกแถวที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแบบดังกล่าวจะได้รับการเผยแพร่เป็นต้นแบบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งรณรงค์ให้ผู้ประกอบอาชีพทางสถาปัตยกรรม ผู้ประกอบธุรกิจด้านที่อยู่อาศัย และผู้ที่ต้องการซื้อหรือสร้างบ้านและอาคารตึกแถวเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการลดโลกร้อน ได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงและให้ความสนใจต่อการออกแบบที่อยู่อาศัยที่มีส่วนช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก
     
บ้านและอาคารตึกแถวคาร์บอนต่ำ หมายถึง บ้านและอาคารตึกแถวที่มีการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ การใช้งาน การซ่อมแซมและทุบทำลาย มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยตลอดวัฏจักรชีวิตของบ้านหรืออาคารนั้น ๆ เมื่อเทียบกับบ้านและอาคารตึกแถวแบบปกติ
     
ทั้งนี้ การดำเนินการก่อสร้างบ้านและอาคารตึกแถวคาร์บอนต่ำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในกระบวนการออกแบบ (Design) เป็นอย่างมาก โดยบ้านและอาคารตึกแถวคาร์บอนต่ำจะต้องมีการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบ้านและอาคารได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การจัดการของเสีย การใช้วัสดุและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี 
    
ดังนั้นลักษณะสำคัญของบ้านและอาคารตึกแถวคาร์บอนต่ำในประเทศไทย ควรออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Design) สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ไม่สะสมความชื้น และระบายความร้อนได้ดี นอกจากนี้การออกแบบบ้านและอาคารตึกแถวคาร์บอนต่ำ ยังต้องคำนึงถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการดูดซับคาร์บอน ภายในบ้านและอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    
ใครที่คิดจะสร้างบ้านแล้วยังไม่มีแบบบ้านอดใจรออีกนิด เพื่อรอแบบบ้านคาร์บอนต่ำ เพราะมีทั้งบ้านเดี่ยว และแบบอาคารตึกให้เลือก หรือติดตามความคืบหน้าที่ เว็บไซต์ http://www.tgo.or.th


ที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=547&contentId=164059

สังคมคาร์บอนต่ำ4

ความพยายามที่ท้าทายที่สุดของประชาคมโลกในการหยุดยั้งความเสียหายของโลกใบนี้ซึ่งบอบช้ำจากน้ำมือมนุษย์มานานนับศตวรรษ ทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง การผลิตก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล รวมทั้งการทำลายระบบนิเวศน์ในพื้นต่างๆเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งมีข้อผูกพันให้ประเทศต่างๆต้องลดก๊าซเรือนกระจกในอัตราส่วนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต (เฉลี่ยร้อยละ 5.2 ของระดับก๊าซในปี 1990) และเพิ่มขึ้นในระยะยาว ดังนั้นวาทกรรมเรื่อง “สังคมคาร์บอนต่ำ” จึงถูกหยิบยกขึ้นมาศึกษาในวงกว้างในฐานะโมเดลของสังคมในอนาคตและทางรอดของมนุษยชาติ
สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Society) เป็นสังคมที่ใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนน้อย และแทนที่การใช้พลังงานรูปแบบเดิมด้วยพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ๆที่พัฒนาจากเทคโนโลยีด้านเชื้อเพลิงที่ก้าวหน้าขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดี ในหลายประเทศเริ่มมีการเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการวางระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีสัดส่วนครอบคลุมถึงร้อยละ 46.7 ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งไปได้จำนวนมหาศาล และจากความเอาจริงเอาจังของภาคส่วนต่างๆ ในการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 2.55 ล้านตัน ในช่วงปี 2005-2006
สำหรับประเทศไทย การเตรียมตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำยังคงเป็นเพียงกิจกรรมและโครงการขนาดเล็ก หรืออาจกล่าวได้ว่าเรายังอยู่แค่ในช่วงศึกษาค้นคว้าเท่านั้น โดยมีหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความพร้อมให้สังคมในการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีขอบเขตการทำงานแบ่งเป็น 3 ด้านคือ (1) การเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสภาพเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสร้างยุทธศาสตร์ในการปรับตัว เช่น การศึกษาวิจัย (2) การสร้างแบบจำลองสภาพอากาศ เพื่อเก็บข้อมูลด้านอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (3) การประเมินวัฏจักรชีวิต เพื่อนำฐานข้อมูลไปประยุกต์กับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น การคำนวณ carbon footprintอย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคสำคัญ 4 ประการที่ทำให้สังคมไทยยังไม่พร้อมสำหรับการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ คือ

หากประเทศไทยต้องการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำภายในปี 2050 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากแก้ปัญหาอุปสรรคทั้ง 4 ประการแล้ว ยังจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานของภาครัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการผลักดันภาคส่วนอื่นๆของสังคม
  1. การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพคือ การใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลงแต่ยังคงได้ประโยชน์เท่าเดิม ซึ่งนอกเหนือไปจากการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้พลังงานไฟฟ้าแล้ว สังคมไทยยังต้องเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆที่จะสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงในครัวเรือน
  2. การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังสามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตไฟฟ้าไปได้อย่างมาก ในปัจจุบันมีการใช้พลังงานหมุนเวียนบางประเภทในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องมีการขยายขอบเขตประเภทพลังงานหมุนเวียนให้กว้างขึ้น และสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานในรูปแบบดังกล่าวในอุตสาหกรรมและครัวเรือนอย่างเป็นระบบ
  3. การลดการสูญเสียป่าและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืน ในประเทศไทยเองนับว่ามีพัฒนาการเรื่องการเกษตรแบบยั่งยืน มีการส่งเสริมและให้ความรู้แนวคิดดังกล่าวจนปัจจุบันสามารถขยายผลไปถึงในระดับท้องถิ่น แต่ที่ยังคงเป็นปัญหาคือเรื่องการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าซึ่งแม้จะมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาแต่ในทางปฏิบัติแล้วยังคงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าและลักลอบตัดไม้ของนายทุนอยู่เป็นจำนวนมาก
  4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น การลดการใช้ถุงพลาสติก การใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า ไปจนถึงการสร้างนิสัยการบริโภคอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมซึ่งในสังคมไทยมีการรณรงค์ในประเด็นเหล่านี้จากทั้งทางภาครัฐ และเอกชนแต่ก็ยังไม่เห็นผลในทางปฏิบัติและยังไม่สามารถวัดผลได้เท่าที่ควร
Mr. Martin Krause หัวหน้าทีมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ศูนย์โครงการพัฒนาแห่งสหประชาติภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (UNDP Asia-Pacific Regional Centre) ได้เสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาลไทยเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำไว้ว่า รัฐบาลควรเลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลแต่ควรปล่อยให้ราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกและควรหันมาอุดหนุนราคาไบโอดีเซลแทนจะดีกว่า แม้ไบโอดีเซลจะใช้พลังงานชีวมวลซึ่งจะปล่อยคาร์บอนเช่นกันแต่ก็ไม่ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะเกษตรกรก็เผาเชื้อเพลิงชีวมวลเหล่านั้นอยู่แล้ว นอกจากนั้นรัฐบาลควรให้การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในหลายรูปแบบโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งมีความเสี่ยงสูง
สังคมคาร์บอนต่ำไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ สังคมไทยเองมีจุดแข็งในด้านภูมิปัญญาที่เอื้อต่อการสร้างสังคมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว หากเพียงแต่เราจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำร่วมกับลงมือลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ไม่เช่นนั้นแล้ว ลูกหลานของเราคงจะอยู่ในสังคมที่ไม่มั่นคงอย่างมาก และไม่มีหลักประกันใดๆว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกต่อไป

สังคมคาร์บอนต่ำ3

คนทั่วไปอาจยังไม่รู้จักมันดี แต่สำหรับคนในแวดวงสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เรียกว่า“โลว์คาร์บอน โซไซตี้”หรือสังคมคาร์บอนต่ำ คือชะตาโลกที่จะมาถึงภายในระยะเวลาไม่เกิน 40 ปีข้างหน้า และมนุษย์ทุกคนบนโลกจะได้รับเกียรติ ให้เป็นผู้เล่าประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ในช่วงชีวิตของพวกเขาเอง



เหตุเกิดที่ 2050

จะเป็นไรไปเล่า ถ้าเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องจริง แน่นอน...มันเป็นเรื่องจริงของมนุษย์โลกคนหนึ่งที่หลับไป 40 ปี และตื่นขึ้นมาก่อนหน้าเช้ามืดในวันหนึ่งของกลางเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 2050 “เกิดอะไรขึ้นนี่” เขาพูดกับตัวเองอย่างตกตะลึง โลกตรงหน้าทำไมถึงได้ดูผิดแผกแตกต่าง แสงอาทิตย์ที่เพิ่งโผล่พ้นขอบฟ้า



ดูราวจะฉายแสงจ้าด้วยรังสีแปลก ๆ นกกา พืช สัตว์ จัตุบาท ทุกสิ่งเปลี่ยนไปสิ้น โลกเปลี่ยนราวกับว่ามันไม่ใช่โลกใบเดียวกัน แน่นอน...ถ้าเขารู้นะว่าเขาหลับไป 40 ปี ชายคนนี้(ไม่ค่อยหนุ่มแล้วมั้ง) กดรีโมทโทรทัศน์ ก่อนจะค่อย ๆ ยกมือขึ้นทึ้งผมเบา ๆ เขาอ้าปากน้อย ๆ ด้วยอาการของคนเผลอสติ จ้องจอโทรทัศน์ด้วยสายตางุนงง


โลกยามนี้ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลยาว ๆ หายไปเกลี้ยง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม หรือไทย พื้นที่หดเหลือ 1 กะเปาะเล็ก ๆ ในแผนที่ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น พื้นที่เพาะปลูกเปลี่ยน อุณหภูมิเปลี่ยน ผู้คนพลเมืองเผชิญภาวะน้ำท่วม ข้าวปลาอาหารน้ำจืดขาดแคลน การเพาะปลูกกลายเป็นเรื่องยากถึงเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย 


โรคภัยไข้เจ็บอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ภัยพิบัติทางธรรมชาติผันแปร ฟังแล้วอายุคนบนโลกจะสั้นลง ชายผู้หลับไป 40 ปีสะดุ้งเฮือกรีบปิดโทรทัศน์ เขาตัดสินใจเดินออกมานอกบ้านและพบว่าบนถนนช่างเวิ้งว้างว่างเปล่าและแทบจะ เรียกได้ว่าไม่มีรถยนต์วิ่งอยู่เลย “นี่มันอะไรกัน โลกนี้เกิดอะไรขึ้น” เขาถามด้วยเสียงและใจที่สั่นระรัว คนที่ให้คำตอบแก่เขาคือหญิงสาวคนแรกที่เดินผ่านมา เธอย้อนถามเขาว่า “คุณไปไหนมา โลกของเราก็เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้ว”...แน่นอน...มันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ คุณคิด


สิ่งท้าทายอุบัติใหม่

ย้อนโลกกลับไปในปี 1997 ตั้งแต่พิธีสารเกียวโต จนถึงโคเปนเฮเกนในปี 2009 แม้ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มากมายยืนยันว่าโลกจะร้อนขึ้นแน่ แต่โลกในขณะนั้นก็เป็นไปในแบบที่เห็นและเป็นอยู่ เรื่องการลดคาร์บอนไดออกไซด์พูดกันมาหลายปี แต่ไม่เห็นใครตกลงกับใคร
ใน ท่ามกลางการถกเถียง คือความร่วมมือกันของหน่วยงานระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการวิจัยระดับภูมิภาคเอเปค Research on the Futures of Low Carbon Society: Climate Change and Adaptation Strategy for Economies in APEC Beyond 2050 ซึ่งประเทศต่างๆ มีรัสเซีย สหรัฐอเมริกา จีน ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน แคนาดา และไทย เป็นต้น ในปี 2010 พวกเขาประกาศสิ่งที่เรียกว่า 5 ภาพฉาย (Scenerio) ของผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นใน 40 ปีข้างหน้า
1.ผล กระทบโดยตรง (ภัยแล้ง น้ำท่วม) 2.ผลกระทบต่อคนเมือง 3.ผลกระทบต่อคนชนบทที่ใช้ชีวิตใกล้ฐานทรัพยากร 4.ผลกระทบต่อไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ 5.ผลกระทบต่อการบริโภคสินค้าและบริการ ภาพฉายทั้งหมดนี้นำมาซึ่งแนวคิดการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ (Chimate Change) ไคลเมทโมเดลที่แม่นยำไม่เพียงแค่การเปลี่ยนเทคโนโลยีหรือการลดคาร์บอน ไดออกไซด์เท่านั้น แต่หมายถึงการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของมนุษย์ด้วย 


โลว์คาร์บอน โซไซตี้

ทำไมถึงต้อง 40 ปี ทำไมถึงต้องบียอนด์ทู 2050 นั่นก็เพราะคณะทำงานสากลคณะนี้ ต้องการทำงานกับโลกอนาคตที่จะเกิดขึ้นจริงภายในช่วงชีวิตของคนบนโลกที่มี ชีวิตอยู่ในขณะนั้น ที่อย่างน้อยจะมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีก 40 ปี การทำงานและการกำหนดยุทธศาสตร์ตั้งอยู่บนแนวคิดเชิงบวกที่ว่า มนุษย์ปรับตัวได้เพื่อความอยู่รอด

จากการคาดการณ์โมเดล ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศกระทบเป็นลูกโซ่ต่อทุกสิ่ง ยกตัวอย่างของสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น(2010) คือสังคมที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสังคมออนไลน์ ไม่ต้องเจอกันแต่พูดกันได้ ไม่ต้องเจอกันแต่ประชุมทำงานกันได้ สังคมออนไลน์พัฒนาจนสมบูรณ์ในวันหนึ่งเมื่อมนุษย์เดินทางโดยไม่เดินทาง

ความหนักหน่วงของภาวะสิ่งแวดล้อม ทำให้ทุกอย่างแพงด้วยภาษี ทุกอย่างถูกทำให้แพงโดยนโยบาย หลายอย่างที่ไม่น่าเป็นไปได้ต้องเป็นไป ในปี 2050 คนไม่ขับรถ คนไม่เดินเรือ คนไม่โดยสารเครื่องบิน น้ำมันที่ใกล้หมดโลก ทำให้พลังงานมีราคาแพงจนแทบจะไม่มีใครสามารถเดินทางได้อีก ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจอาหาร การขนส่งต้องปฏิรูปหมดในปีแห่งอนาคต เราได้เห็นภาพของสังคมที่หลากหลาย สิ่งที่ผูกกันไว้ระหว่างประเทศ เช่น การบิน การเดินทาง ยังสั่นสะเทือนต่อไปถึงธุรกิจท่องเที่ยว ในเมื่อมีคนเดินทางโดยไม่เดินทาง ก็มีคนที่ท่องเที่ยวโดยไม่ท่องเที่ยว ธุรกิจเวอร์ช่วล ทัวริซึม(Virtual Tourism) เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วโลก


อิสระของความจริงที่ย่อมเป็นไป

เวอร์ช่วล ทัวร์ริซึม หรือการท่องเที่ยวเสมือนจริง เกิดขึ้นด้วยเหตุผลที่รับได้ อธิบายได้ น้ำมันแพงมาก จนไม่มีใครอยากเดินทางจริง ๆ กันอีก ความเสี่ยงเรื่องภัยพิบัติ น้ำท่วมแผ่นดินถล่มทำให้เบี้ยประกันสูงลิบ บริษัทประกันภัยไม่ยอมรับประกันภัยการเดินทาง ต่อไปการท่องเที่ยวมายังประเทศไทย ก็ไม่ต้องเดินทางมาจริง ๆ แต่เดินทางไปที่ธีมปาร์ค สถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นประเทศไทยจำลอง

ผู้คนในอนาคตยินดีไปเที่ยวโดยตีตั๋วเข้าไปในสถานที่เสมือนจริงเหล่านี้ เพราะเข้าไปก็ได้รับสุนทรียรส แสงสีเสียง สัมผัส กลิ่นอาย ผู้คน อาหาร อากาศ ราคาค่าเงิน อัตราแลกเปลี่ยน ทุกอย่างถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้มาเที่ยวได้รับประสบการณ์เหมือนมาเที่ยว เมืองไทยจริง ๆ นี่คือตัวอย่างหนึ่งของธุรกิจภาคบริการที่จะได้เห็นแน่ ๆ

ใครอยากไปลาสเวกัส ในที่สุดก็มีบ่อนคาสิโนเสมือนจริงในหลายประเทศ ยังมีสิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือกฏกติกาภาษี กฎหมาย เหลี่ยมมุมการเจรจา การต่อรองระหว่างประเทศและอีกมากเท่าที่จะจินตนาการไปถึงได้ ขโมยโลกอนาคตไม่ขโมยเงินหรือพันธบัตร แต่ขโมยพันธุ์กล้วยไม้ป่าหายาก ไม่ก็ขโมยโนฮาวเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน ภาษีน้ำมันบีบให้เครื่องบินต้องใช้น้ำมันที่ผลิตจากสาหร่ายทะเล ทั้งหมดนี้ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา(2010-2050) สังคมคาร์บอนต่ำเป็นจริงได้โดยมีเฟียร์แฟคเตอร์ของผู้บริโภคเอง เป็นตัวขับเคลื่อน ขณะที่นโยบายของนานาชาติเป็นกรอบกำหนด 40 ปี โลกถูกบีบกรอบไปในแนวทางและยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาด สิ่งที่ช่วยคือเทคโนโลยี แต่มันก็เป็นแค่ฟันเฟืองหนึ่งของสังคมคาร์บอนต่ำเท่านั้น ชีวิตคนเปลี่ยนไปอย่างไร...เราอยู่รอด และมีความสุขภายใต้ข้อจำกัดทางธรรมชาติ...นี่ต่างหากที่เป็นคำตอบสุดท้ายของ โลกคาร์บอนต่ำ และคำตอบสุดท้ายของมนุษยชาติโลกอนาคต

“ฮือม์...ผมไม่อยากเชื่อเลย” ชายผู้ผ่านกาลเวลามาด้วยการหลับ ฟังแล้วทำเสียงรำพึงรำพันหญิงสาวยิ้มกว้าง เธอตบไหล่ให้กำลังใจเพื่อนผู้แปลกหน้าก่อนจะกล่าวว่า “คุณกลับบ้านเถอะ อย่าคิดอะไรมาก โลกรอดแล้ว สิ่งที่คุณต้องการตอนนี้ คือการได้นอนหลับพักผ่อนซักหน่อย”


ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=grizzlybear&month=06-2010&date=26&group=65&gblog=55

สังคมคาร์บอนต่ำ2

สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society มีความหมายตรงตัว ไม่ได้ซับซ้อนอะไร กล่าวคือ เป็นสังคมที่ใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ (เชื้อเพลิงส่วนใหญ่อยู่ในรูปของคาร์บอน) โดยอาศัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงและพลังงานทดแทนใหม่ๆ เข้ามาแทนที่การใช้พลังงานแบบเดิมๆ แต่ยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดี

แนวคิดนี้ญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มและกำลังเป็นผู้นำในการปฏิบัติ รวมทั้งชักชวนประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศลูกหม้อในเอเชียให้เจริญรอยตามไปด้วย

เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้นำเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในเอเชีย สิ่งที่ ญี่ปุ่นทำมิใช่มุ่งหวังแค่ผลด้านสิ่งแวดล้อม เท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายครอบคลุมไปถึงเศรษฐกิจการค้าของตนด้วย ญี่ปุ่นหวังว่าสังคมคาร์บอนต่ำจะต้องมีผลเปลี่ยนแปลงสังคมและวิถีชีวิตของชุมชนใหญ่น้อยของโลกในอนาคตข้างหน้า โดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำ ด้านเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ที่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางพลังงานใหม่ๆ ของญี่ปุ่นไปอีกหลายสิบปี ก่อนจะสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตนเองขึ้นมาได้ หรืออาจจะทำไม่ได้เลยเพราะมัวแต่ทะเลาะกันในสภาฯ

ญี่ปุ่นวางเป้าหมายการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำไว้ในเบื้องต้นว่า จากนี้ถึงปี 2020 จะเป็นช่วงทำความเข้าใจกับแนว คิดการบริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะมีการลดก๊าซได้เพียง 25% จากระดับในปี 1990

เป้าหมายระยะกลางจากปี 2020 ถึงปี 2030 เพิ่มการลดก๊าซเป็น 40% และก้าวกระโดดเป็น 80% ภายปี 2050 สำหรับเป้าหมายในระยะยาว ซึ่งจะเป็นจุดที่ประชาชนรุ่นใหม่มีความรู้ฝังอยู่ในจิตสำนึกโดยสมบูรณ์ และด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็น ชาติหนึ่งที่ไม่เคยยอมแพ้อะไรง่ายๆ และมีฐานการพัฒนาที่ล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นๆ อยู่หลายขุม จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป้าหมายที่วางไว้ คงเป็นไปได้ตามเป้า

หลายเรื่องที่ญี่ปุ่นพัฒนาและเป็นฐานที่ดีสู่การพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ล้ำหน้ากว่าใคร ยกตัวอย่างเช่น

- อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและซีเมนต์ซึ่งใช้พลังงานสูงมาก แต่ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานโดยสามารถผลิตเหล็กได้ด้วยการใช้พลังงานน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ถึง 1-1.25 เท่า

- ญี่ปุ่นมีระบบขนส่งมวลชนประสิทธิภาพสูง แพร่ขยายครอบคลุมเป็นสัดส่วนถึง 46.7% ขณะที่ประเทศชั้นนำอื่นๆ มีอัตราครอบคลุมน้อยกว่า ได้แก่ เยอรมนี 20.7% ฝรั่งเศส 16.1% สหรัฐฯ 22.4% และอังกฤษ 13.1%

- มีอัตราการเติบโตของยอดขายรถประหยัดพลังงาน เช่น รถยนต์ไฮบริดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007

- ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (solar cells) รายใหญ่ที่สุดในโลก

- ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นประหยัดพลังงานได้สูงที่สุดในโลก

- ญี่ปุ่นใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในสัดส่วนถึงหนึ่งในสาม

- และที่ภาคภูมิใจสุดๆ คือการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนช่วยในการลดโลกร้อนของญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดการลดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 2.55 ล้านตัน ในช่วงปี 2005-2006

กลไกที่ผลักดันให้นโยบายการพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดได้จริง ญี่ปุ่นทำทั้งภาคบังคับและสมัครใจ

ในการบังคับใช้วิธีกำหนดให้ผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ส่งรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรัฐ และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้สู่สาธารณชน

ส่วนมาตรการจูงใจและเชิญชวนใช้วิธีออกมาตรฐานประหยัดพลังงาน เชิญชวนให้เกิดการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากทำไม่ได้รัฐบาลจะแนะนำช่วยเหลือ เท่าที่ผ่านมามาตรการนี้ทำให้เกิดการแข่งขันในทางคุณภาพ เช่น เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพสูงขึ้นถึง 42% ตู้เย็น 55% จอทีวีและคอมพิวเตอร์ 73.6%

ในด้านการบริหารปกครอง ก็มีมาตรการที่จะให้ท้องถิ่นต่างๆ ลดก๊าซตาม สภาพภูมิประเทศและสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน ตัวอย่างเช่น ในระดับประเทศ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สิ่งแวดล้อมประกาศตัวต่อประชาคมโลกว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำในการลดโลกร้อน ไม่ว่า มติจาก Post Kyoto Protocol จะออกมาเป็นอย่างไร สร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง จากระดับผู้บริหารประเทศสู่ประชาชนทั่วไป จนเท่าที่ผ่านมามีกิจกรรมออกมาเป็นรายวัน มีอาสาสมัครเป็นผู้ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติที่ดี รวมทั้งมีหลายกิจกรรมที่เป็นไปในทางพอเพียงเช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำกันในประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Eco-life”

และที่น่าจับตามองคือ มาตรการ “Local production for local consumption” หรือโครงการผลิตในท้องถิ่นและใช้ในท้องถิ่น โดยรัฐให้การรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งพาตนเองได้ แตกต่างจากบ้านเราที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นการรับรองเพื่อส่งไปขายในเมืองใหญ่และเมืองนอก แต่มีแนวโน้มกลายมาเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของนักลงทุนที่ใช้แรงงานของท้องถิ่น ประโยชน์จึงตกอยู่ที่นักลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านท้องถิ่นก็ยังคงยากจนอยู่เหมือนเดิม

ถ้าเป็นในสังคมเอง แนวทางหลักจะเน้นไปที่เรื่องนวัตกรรมการ Recycle ของเสียต่างๆ การส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน การจัดโซนนิ่งการใช้ที่ดินและการสร้าง green buildings ภายใต้การรณรงค์ อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน เช่น ส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจแบบ small office และ home office อุปกรณ์ไฟฟ้าและยานพาหนะมีจอติดตั้งเพื่อแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน สร้างอิมเมจของครอบครัวทันสมัยที่มีการประหยัดพลังงานทุกรูปแบบและมีสวนผักอยู่บนหลังคา โดยประเมินว่าครอบครัวหนึ่งมีศักยภาพลดคาร์บอนได้ถึง 50%

หากมองย้อนกลับมาที่บ้านเรา

เมืองไทยกำลังทำอะไรกันอยู่ เมืองไทยมิใช่ด้อยน้อยหน้าญี่ปุ่นจน เกินไป เรามีพื้นฐานของสังคมที่พอเพียงอยู่แล้ว มีภูมิปัญญา มีทรัพยากรธรรมชาติ เหลือเฟือ และมีศูนย์รวมของการร่วมแรงร่วมใจคือสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณริเริ่มโครงการต่างๆ ขึ้นมามากมายที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อปวงชนอย่างแท้จริง

หากเราพยายามชูจุดแข็งเหล่านี้ควบคู่ไปกับการค้นคว้านวัตกรรมที่เหมาะสม เราก็อาจก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างภาคภูมิใจไม่น้อย ขอแต่เพียงมีเจตนา ที่มุ่งมั่น อย่ากล้าๆ กลัวๆ อิงกับการพัฒนา เศรษฐกิจแบบ GDP มากจนเกินไป เราก็คงจะเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้

อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของไทยในหลายๆ ด้านยังมีช่องว่าง โดยเฉพาะการที่เรายังไม่มีความจริงจังในการผันนโยบายออกมาเป็นการปฏิบัติจริง เรายังคงไม่กล้าใช้กฎหมายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และการใช้ที่ดินอย่างจริงจัง

ซึ่งต้นตอของปัญหาก็หนีไม่พ้นอุปสรรคแบบเดิมๆ คือ การแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง การขาดธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ผู้บริหารผู้ปกครอง และจริยธรรมของนักลงทุน ซึ่งยังมีจำนวน ไม่น้อยที่ออกมาทำ CSR ด้วยอารมณ์เพื่อสร้างภาพมากกว่าคิดถึงสิ่งแวดล้อมส่วนรวมอย่างแท้จริง   

สังคมคาร์บอนต่ำ1

เมื่อเทียบกับก๊าซเรือนกระจกชนิดนี้อื่นๆ แล้ว กิจกรรมของมนุษย์นับแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ปลดปล่อย “คาร์บอน” มากกว่าก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ และนำไปสู่แนวคิดในการสร้างสังคม “คาร์บอนต่ำ” ที่มีโจทย์อันท้าทายว่าเศรษฐกิจต้องเดินหน้าไปด้วย
       
       มร.มาร์ติน เคราส์ (Mr.Martin Krause) หัวหน้าทีมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ศูนย์โครงการพัฒนาแห่งสหประชาติภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (UNDP Asia-Pacific Regional Cantre) เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ถึงอุปสรรคของการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำว่ามี 4 เรื่องที่ยังทำไม่สำเร็จ คือ 1.ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า 2.การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน 3.การลดการสูญเสียพื้นที่ป่าและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืน และ 4.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การปิดไฟเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ต้องเผาพลาญเชื้อเพลิง เป็นต้น
       
       ส่วนนโยบายเพื่อสนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำของยูเอ็นดีพีนั้น มร.เคราส์ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่จะนำไปสู่การลดคาร์บอนในเมืองไทยที่ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่ จ.แม่ฮ่องสอน อย่างพลังงานแสงอาทิตย์หรือการสร้างเขื่อนขนาดเล็ก และโครงการสำรวจประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในอาคาร โดยยูเอ็นดีพีให้ทุนสนับสนุนเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจอาคารที่เข้าร่วมในโครงการ ซึ่งมีทั้งโรงแรียนและโรงพยาบาลว่าสามารถลดการใช้พลังงานในส่วนใดได้บ้าง และเสนอเป็นแผนการจัดการเพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
       
       สำหรับข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายแก่รัฐบาลไทยเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำนั้น มร.เคราส์กล่าวว่ารัฐบาลควรจะเลิกหนุนราคาน้ำมันดีเซล และปล่อยให้ราคาใกล้เคียงกับราคาในตลาดโลก และหันมาหนุนราคาไบโอดีเซลแทนจะดีกว่า และให้ความเห็นด้วยว่าเราสามารถใช้พลังงานทดแทนได้โดยไม่ต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลว่า ต้องการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่มีหลากหลายเทคโนโลยี เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานน้ำ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ได้ หรือจะยอมรับความเสี่ยงจากพลังงานนิวเคลียร์ที่มีความเสี่ยงสูง
      
       “หลายคนอาจบอกว่าเชื้อเพลิงชีวมวลก็ปลดปล่อยคาร์บอนเช่นกัน ใช่ แต่การปลดปล่อยนั้นไม่ได้เพิ่มปริมาณการปลดปล่อย เพราะยังไงเสียเกษตรกรก็เผาเชื้อเพลิงชีวมวลเหล่านั้นอยู่แล้ว ทำไมไม่เปลี่ยนมาเป็นพลังงานเสียเลย ส่วนพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ปล่อยคาร์บอนก็จริงแต่มีความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและความเสี่ยงจากการกำจัดกากนิวเคลียร์ ซึ่งยูเอ็นดีพีไม่สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์อยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าต้องการจะเสี่ยงหรือไม่” มร.เคราส์ให้ความเห็น
       
       พร้อมกันนี้ในการเปิดงานสัมมนา “อนาคตของสังคมคาร์บอนต่ำ: ใต้วิสัยทัศน์เอเชียแปซิฟิกภายในปี 2050” (The Future of Low-Carbon Society: An Asia-Pacific Vision Beyond 2050) เมื่อวันที่ 27 ส.ค.53 ณ โรงแรมคอนราด ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึงบทบาทของกระทรวงต่อภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีกิจกรรมและการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดการปลดปล่อยและปรับตัวรับกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แบ่งได้เป็น 3 ขอบเขต
       
       ขอบเขตแรกเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและยุทธศาสตร์ในการปรับตัว โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งครอบคลุมงานวิจัยและพัฒนาหลายโครงการ เช่น งานวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่พัฒนาพันธุ์พืชเพื่อทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น พืชทนแล้ง-ทนน้ำท่วม หรือการพัฒนาโรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เป็นต้น
       
       ขอบเขตที่ 2 เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งงานในขอบเขตนี้ยังรวมถึงการพัฒนาแบบจำลองที่อาศัยข้อมูลภาพถ่ายระยะไกลหรือรีโมตเซนซิง (Remote Sensing) อย่างข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ซึ่งส่งต่อไปยัง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) และศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อสร้างแบบจำลองต่อไป
       
       ขอบเขตสุดท้ายเป็นเรื่องการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สวทช. มีบทบาทนำในเรื่องนี้ โดยฐานข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตนั้นนำไปสู่การประยุกต์ที่หลากหลาย เช่น การคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ (Carbon footprint) ของผลิตภัณฑ์หรือการทำงานขององค์กรต่างๆ ได้ ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือเราต้องให้นักวิทยาศาสตร์ของเรานั้นแสดงความคิดได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เราเชื่อมั่นได้ว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นจะมีบทบาทสำคัญต่อการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และเป็นกุญแจสำคัญที่จะขับเคลื่อนเราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ


ที่มา: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000121737

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

ปัจจุบันการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในประเทศไทยยังมีน้อย มีเพียงองค์การขนาดใหญ่ไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่ได้เริ่มดำเนินการ เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และไม่ทราบเทคนิคและวิธีการคำนวณ CCF สำหรับประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จึงได้กำหนดให้มีการดำเนินงานด้านการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และเป็นการเตรียมความพร้อมหากภาครัฐจำเป็นต้องมีรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย วัตถุประสงค์ 
                    1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในประเทศไทย ในการคำนวณข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อใช้บริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                         2.เพื่อเตรียมความพร้อมหากภาครัฐจำเป็นต้องมีรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย 
                    3. เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้สามารถจัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรได้ 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงานในงานเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสังคม “คาร์บอนต่ำ” (Low-carbon Society) ที่มีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ 
                         (1) Carbon Minimization เป็นสังคมที่มีกระบวนการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง 
                         (2) Simpler and Richer กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถกระทำได้ง่ายในชีวิตประจำวันและสร้างรายได้ให้แก่สังคม และ 
                     (3) Co-Existing with Nature เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องไปกับสภาพแวดล้อมและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และจากแนวคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การจัดการระดับพื้นที่ (Area-based) หรือที่เรียกว่าเมืองลดคาร์บอน (Low-carbon City) กล่าวคือ เป็นการจัดการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเมืองใดเมืองหนึ่งจากฐานเดิมที่ไม่เคยมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก่อน การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรทั่วไปที่ไม่จำกัดขนาดหรือลักษณะของกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นองค์กรของเอกชน องค์กรของรัฐ หรือที่เรียกว่าองค์กรซีเอฟโอ (Carbon Footprint for Organization: CFO) เป็นวิธีการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรและคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับเมือง ระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในประเทศไทยยังมีน้อยมาก เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และไม่ทราบเทคนิคและวิธีการคำนวณ และไม่เคยมีการดำเนินการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อน ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านนี้ได้แก่ บริษัทเอกชนด้านการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ทางด้านการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร บริษัท อีโค ดีซายน์คอนซัลแตนท์ จำกัด www.ecodesignconsult.com บริษัทผู้ตรวจรับรอง http://www.th.sgs.com http://www.lr.org/default.aspx หน่วยงานรัฐสนับสนุน http://www.tgo.or.th

สินค้าติด "ฉลากคาร์บอนคาร์บอนฟุตพริ้น" นำทางกู้วิกฤตโลกร้อน

ในภาวะโลกร้อนอย่างนี้ จะเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแต่ละชนิดจะดูแค่ราคา ปริมาณ และคุณภาพเท่านั้น คงไม่เพียงพอแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้เริ่มมีทางเลือกให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยดูที่ "ฉลากคาร์บอน" และ "เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์" บนบรรจุภัณฑ์              วันนี้ภาคอุตสาหกรรมเริ่มให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจก ผู้บริโภคก็เริ่มตระหนักถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทางหนึ่งที่ทั่วโลกกำลังสนใจใช้เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นคือการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) และสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้าแต่ละชนิดมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหนตั้งแต่เริ่มถูกสร้างขึ้นจนถูกทำลายเมื่อกลายเป็นขยะ   
       โรงงานดอยคำนำร่อง "อบแห้งสตรอเบอร์รี่" คาร์บอนต่ำ
       
       ไทยนับเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ริเริ่มโครงการฉลากคาร์บอนรีดักชัน (Carbon Reduction Label) ซึ่งเป็นฉลากที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าในขั้นตอนการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 10% โดยเทียบกับปีฐาน คือ 2545 ซึ่งสตรอเบอร์รี่อบแห้ง ตรา ดอยคำ คือผลิตภัณฑ์แรกของไทยที่ได้รับฉลากคาร์บอนเมื่อช่วงต้นปี 51       

       นายเกษม ทิพย์แก้ว ผู้จัดการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า สตรอเบอร์รี่อบแห้งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของโรงงาน ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการฉลากคาร์บอนเมื่อปี 50 ก็มีการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิต       

       จากเดิมที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อน ก็เปลี่ยนมาใช้ก๊าซแอลพีจี ไฟฟ้า รวมทั้งก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียที่เกิดขึ้นในโรงงาน ซึ่งแม้จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 20% แต่ก็คุ้มค่าที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ และสินค้าก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 250 ตันต่อปี เป็น 300-350 ตันต่อปี ซึ่งผลิตภัณฑ์ 80% จำหน่ายในประเทศ และ 20% ส่งออกไปยังยุโรป ออสเตรเลีย จีน และญี่ปุ่น
   
       ในอนาคตโรงงานดอยคำมีแผนจะขอการรับรองฉลากคาร์บอนให้แก่ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเชอร์รี่อบแห้งที่มีกระบวนการผลิตคล้ายกันกับสตรอเบอร์รีอบแห้ง ก่อนที่จะขยายผลสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป รวมทั้งเป็นโรงงานต้นแบบในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ เข้ามาศึกษาและนำไปปฏิบัติตาม
   
       ทั้งนี้ ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ของไทยจำนวน 56 ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนแล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย กระเบื้อง ปูนซีเมนต์ เซรามิค พรม และถุงยางอนามัย เป็นต้น และยังมีอีกหลายผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะตามมา รวมทั้งฉลากคาร์บอนอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งมีความเป็นสากลและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
   
       ตามดู "รอยเท้าคาร์บอน" ก่อนคิดจะปล่อย CO2 เพิ่มให้โลก
   
       "ฉลากลดคาร์บอนรีดักชัน เป็นฉลากคาร์บอนประเภทหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงโดยใช้กระบวนการผลิตเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคตระหนักถึงการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเป็นการเริ่มต้นไปสู่สากลคือ ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ที่บอกให้ทราบว่าตลอดชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแก่เริ่มต้นผลิตจนถึงการกำจัดเมื่อเป็นขยะจะปล่อยคาร์บอนออกมาเท่าไหร่" รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศน์เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ให้ข้อมูล
   
       รศ.ดร.ธำรงรัตน์ เผยอีกว่าการศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่จะมีมาตรฐานสากลในการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า คือมาตรฐาน ISO 14067 และในปี 2554 ประเทศฝรั่งเศสจะเริ่มมีระเบียบบังคับให้ผลิตภัณฑ์นำเข้าทุกชนิดต้องแสดงฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ขณะที่ญี่ปุ่น อังกฤษ และอีกหลายประเทศในยุโรปก็ตื่นตัวเรื่องนี้กันมาก โดยนำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กับผลิตภัณฑ์แล้วหลายชนิด
   
       "ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่เริ่มใช้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราใช้โอกาสนี้ที่จะเป็นผู้นำอาเซียนและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประเทศเพื่อนบ้านในด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต (LCA) และการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์" รศ.ดร.ธำรงรัตน์ กล่าวกับสื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ในระหว่างนำคณะนักวิจัยจาก 8 ประเทศในอาเซียน เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงงานดอยคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เมื่อต้นเดือน ธ.ค. 51
   
       รศ.ดร.ธำรงรัตน์ กล่าวต่อว่าการส่งเสริมการใช้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ของไทย จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการค้าระหว่างประเทศและการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตเปิดเผยข้อมูลและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า ทำให้ผู้ผลิตต้องแข่งขันกันผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นต่อๆ ไป
   
       16 บริษัทส่งออก ประเดิมใช้เครื่องหมาย "คาร์บอนฟุตพริ้นท์"
   
       นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า อบก. ร่วมกับเอ็มเทค สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยเริ่มจากศึกษาวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์และการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของต่างประเทศ และพัฒนาเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับประเทศไทย
   
       จากนั้นคัดเลือกบริษัทนำร่องเข้าร่วมโครงการเพื่อฝึกอบรมการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย โดยคำนวนออกมาเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เบื้องต้นได้ 16 บริษัท ที่ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นกลุ่มแรกในไทย ซึ่งได้มีการลงนามสัญญาการใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 52 ณ โรงแรมสยามซิตี โดยมีระยะเวลา 2 ปี และจะมีการตรวจประเมินทุกๆ 6 เดือน
   
       อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ อบก. จะส่งเสริมให้มีบุคลากรหรือองค์กรทางด้านที่ปรึกษาสำหรับการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการขอใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ส่วน อบก. จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและอนุมัติการใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่านั้น โดยคาดว่าจะเริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย. 53 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้เอ็มเทคได้จัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (National LCI Database) เสร็จแล้วจำนวน 307 ข้อมูล เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะและสามารถนำไปใช้ในการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้
   
       สำหรับผลิตภัณฑ์ไทยที่ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก 16 บริษัทแรก มีดังนี้
   
       1. อาหารบริการลูกค้าสายการบิน (แกงเขียวหวาน และ มัสมั่นไก่) บริษัท การบินไทยมหาชน จำกัด
       2. บรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อสำหรับอาหารเหลวและเครื่องดื่ม บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อก จำกัด
       3. อาหารไก่เนื้อ บริษัท เบทาโก จำกัด (มหาชน)
       4. กระเบื้องเซรามิค บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด
       5. ไก่ย่างเทอริยากิ บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
       6. เนื้อไก่สด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
       7. มาม่าเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปน้ำใส บริษัท เพรสซิเดนท์ไรทซ์โปรดัก จำกัด
       8. น้ำสับปะรดเข้มข้น บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน
       9. ข้าวหอมมะลิ 100 % ใหม่ต้นฤดู บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด
       10. แกงเขียวหวานทูนาบรรจุกระป๋อง บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด
       11. เส้นด้ายยืดไนล่อน บริษัท เอเชียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน)
       12. เครื่องดื่มโคคา-โคลาชนิดบรรจุกระป๋องบรรจุ 325 cc บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
       13. พรมปูพื้น (Axminster Carpet) บริษัท คาร์เปทอินเตอร์แนชั่นแนลไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน)
       14. ยางรถยนต์ บริษัท ยางโอตานิ จำกัด
       15. กระป๋องเครื่องดื่มที่ผลิตจาก Line TULC บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
       16. Cup 16 02 PP บริษัท อีสเทร์นโพลี แพค จำกัด



ที่มา: http://siweb.dss.go.th/news/show_abstract.asp?article_ID=2528

สวทช. นำร่ององค์กรลดคาร์บอน รับประกาศนียบัตรโครงการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร


ในภาวะโลกร้อนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น สาเหตุสำคัญคงหนีไม่พ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการใช้พลังงาน การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ล้วนส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งสิ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดการสร้างสังคม “คาร์บอนต่ำ” (Low-Carbon Society) ที่มีหลักการในการเน้นกระบวนการหรือกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับ สวทช. และ 10 องค์กรนำร่องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา จัดทำ “โครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร หรือ Carbon Footprint for Organization (CFO)” โดยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. ได้รับประกาศนียบัตรในฐานะองค์กรนำร่องที่ดำเนินโครงการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จาก ดร.ศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เอ็มเทค 
    (เอ็มเทคร่วมเป็นเจ้าภาพโครงการฯ)
    สวทช. นำร่ององค์กรลดคาร์บอน รับประกาศนียบัตรโครงการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

    คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร คืออะไร?
    การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร หรือ CFO เป็นวิธีการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร และคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าในเชิงปริมาณเป็นกิโลกรัมหรือตัน สำหรับประเทศไทยการจัดทำ CFO ยังมีน้อยมาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จึงร่วมกับ สวทช. และอีก 10 องค์กรนำร่องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ได้ดำเนิน “โครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” (ลงนามเมื่อ 18 พ.ย. 53) เพื่อกำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือหรือแนวทาง (Guideline) ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรในประเทศไทยต่อไป
    co2

    การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรไม่ได้จำกัดขนาดหรือลักษณะของกิจกรรม อาจเป็นองค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคธุรกิจก็ได้ ซึ่งการดำเนินการจัดทำ CFO ไม่เพียงจะได้ผลตอบแทนในเรื่องต้นทุนที่จะลดการใช้พลังงานจากระบบการทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรอีกด้วย

    ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรได้มาอย่างไร?
    การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการคำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น Scope ดังนี้
    Scope I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การใช้ LPG และเชื้อเพลิงอื่นๆ ในห้อง Lab การใช้สารเคมีต่างๆ อาทิ สารทำความเย็น สารในห้องปฏิบัติการ สารเคมีในระบบบำบัดน้ำเสีย หรือการขนส่งโดยพาหนะขององค์กร เป็นต้น
    Scope II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การใช้กระแสไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเอง 
    Scope III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ (Other Indirect Emissions) เช่น การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรือการใช้น้ำ เป็นต้น

    คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรทำแล้วได้อะไร?
    การประเมิน CFO สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางบริหารจัดการลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับองค์กร รวมทั้งแสดงถึงภาพลักษณ์องค์กรที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศด้วย ทั้งนี้ การจัดทำ CFO มีแนวโน้มจะเป็นมาตรฐานที่องค์กรต่างๆ ให้การยอมรับมากขึ้นเพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
    ทั้งนี้ สวทช. ได้ดำเนินกิจกรรม Green NSTDA เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 พบว่า สวทช. ลดการใช้พลังงานไปได้เฉลี่ย 8.3% จัดทำโครงการกระดาษหน้าที่ 3 เพื่อน้อง ทำให้ลดทรัพยากรในการผลิตกระดาษเทียบเท่าต้นไม้ 21 ต้น ไฟฟ้าเกือบ 5,000 kWh น้ำ 38,319 ลิตร คลอรีน 8.5 กก. ซึ่งเท่ากับการลดคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) 4,412 กก. 

    ที่มา: http://www.nstda.or.th/news/6394-nstda-awarded-with-certificate-for-cfo-project-as-pilot-organization-to-reduce-co2-emissions


    วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    Carbon footprint มาตรการสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของภาคการส่งออกไทย


    ปัจจุบันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas; GHG) เป็นแนวทางหลักที่นานาชาติเห็นพ้องร่วมกันในการบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีพันธกรณีในการลดการปล่อย GHG ภายใต้พิธีสารเกียวโตได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อย GHG จากภาคการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ หนึ่งในนั้นคือการแสดงค่า  Carbon footprint (CF) หรือปริมาณรวมของ GHG ที่แสดงในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าซึ่งปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าและบริการคาร์บอนต่ำอันนำไปสู่การลดการปล่อย GHG ของประเทศนั้น ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยในฐานะผู้รับจ้างผลิตและผู้ส่งออกสินค้าจึงได้รับผลกระทบจากมาตรการ CF อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสถานภาพการดำเนินงาน CF และการออกฉลาก Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์และบริการของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยประมวลข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของ CF และฉลาก Carbon Footprint ต่อสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรส่งออกสำคัญ 20 รายการที่ส่งไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่มีความตื่นตัวเรื่อง CF รวมทั้งโอกาสและศักยภาพในการสร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านสินค้าคาร์บอนต่ำของสินค้าส่งออกของไทยในตลาดดังกล่าว ซึ่งผลการศึกษาพบว่าในปี 2553-2554 มีสินค้าส่งออกสำคัญถึง 13 รายการที่จะได้รับผลกระทบจาก Carbon footprint คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2552 มากกว่า 6.3 แสนล้านบาทต่อปี และมีความเป็นไปได้ที่ CF จะเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีรูปแบบใหม่ที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยรายอื่นๆ นำมาใช้ในการพิจารณาสั่งซื้อสินค้าต่อไป

    ที่มา: http://www.biotec.or.th/th/index.php/knowledge/documents/431-carbon-footprint-

    วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    สังคมคาร์บอนพอเพียง


    ขอสรุปบทสัมภาษณ์ รศ. ดร. สิรินทรเทพ เต้าประยูร รองผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Joint Graduate School of Energy and Environment – JGSEE) ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์วารสาร Horizon ลงในฉบับที่ ๒๔ (April-June ๒๐๑๐) เกี่ยวกับ สังคมคาร์บอนพอเพียง หรือ Sufficiency Carbon Society น่าสนใจเป็นอย่างมากทีเดียว
    อาจารย์เริ่มจากการให้ความหมายของ Low Carbon Society ก่อน เพราะยังคงมีความเข้าใจกันคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่างคำ ๓ คำ คือ Low Carbon Economy, Low Carbon Society และ Low Carbon City
    Low Carbon Economy จะเน้นไปทางเทคโนโลยีกับเศรษฐศาสตร์ เน้นไปที่การนำเทคโนโลยีสะอาดมาช่วยลดก๊าซเรือนกระจก แต่ถ้า Low Carbon City จะใช้พื้นที่เป็นหลัก เน้นไปที่เมือง เมืองใดเมืองหนึ่งที่จะเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ มีการวิธีการจัดการอย่างไร … ลดได้เท่าไร ศึกษาเชิงพื้นที่เป็นหลัก ส่วน Low Carbon Society จะพูดถึงหลัก ๓ ข้อใหญ่ๆ คือ Carbon Minimization จะต้องเป็นสังคมที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ แล้วการลดเป็นการลดแบบไหน อันดับที่สอง คือ Simpler and Richer หมายถึง มีการลดในชีวิตประจำวันด้วยวิธีง่าย ๆ มีความเต็มใจในการลดและยังสามารถสร้างรายได้ ส่วนอันดับที่สาม คือ Co-Existing with Nature เป็นเรื่องของการปรับตัวเองให้เข้าสู่ภาวะโลกร้อนทีเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ความหมายของ Low Carbon Society จึงมีความกว้างกว่าตัวเทคโนโลยีอย่างเดียว เป็นเรื่องของการบรรเทา (Mitigation) และการปรับตัว (Adaptation) ของคนในสังคมด้วย แต่ด้วยคำว่า Low Carbon Society ถูกผลักดันมาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว มาก่อนจึงให้ความสำคัญที่เทคโนโลยีเป็นหลัก
    สำหรับ Low Carbon Society ในบริบทของสังคมไทย จะเห็นว่า Simpler and Richer จะเน้นเรื่องความสบายใจในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ ก็เข้ากันได้ดีกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ Co-Existing with Nature ในบริบทไทย ชุมชนที่นำเอาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปพัฒนา ก็จะรูปแบบในการดำเนินชีวิตที่เข้ากับธรรมชาติได้ดี และรักษาธรรมชาติได้ดีด้วย เหมือนชุมชนบ้านเปร็ดใน อำเภอเมือง จังหวัดตราด เพราะชุมชนเอาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไป มีวิธีคิดที่จะรักษาธรรมชาติ ไม่ได้มองที่ตัวเองเป็นหลัก แต่จะสร้างระบบเป็นหลักทำอย่างไรให้อยู่กับธรรมชาติได้ แล้วการที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ ก็ทำให้สามารถลดโลกร้อนได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าคนไทยทั้งประเทศทำแบบชุมชนบ้านเปร็ดใน ภาพรวมการปล่อนในประเทศก็ลดลง ต้องช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ มันไปด้วยกันระหว่าง Low Carbon Society กับเศรษฐกิจพอเพียง
    การจะเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ต้องมีความเข้าใจเป็นหลักก่อน ว่าทำไมต้องทำสังคมคาร์บอนต่ำ ต้องมีความเข้าใจในเรื่งอของการทำอย่างไรจึงจะลดก๊าซเรือนกระจกได้ ในการลดก๊าซเรือนกระจกต้องมีทั้งเทคโนโลยี และ เรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน ๒ สิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน
    ในตะวันตก มีการสร้างระบบชัดเจนในการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีการวางเป้าหมายร่วมกัน ใช้ในเชิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เอาคนที่เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันมองหาโอกาสในการลดก๊าซเรือนกระจก ก็สามารถวางแผนในการลดก๊าซร่วมกัน สร้างแผนร่วมกัน แต่ถ้าจะเอามาใช้ในไทย ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนมากๆ เข้ามาร่วมดำเนินการ ร่วมกันช่วยกันคิด ตอนนี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กำลังพยายามเริ่มมองเมืองต้นแบบ Low Carbon Society และจะพัฒนาคู่มือ
    ที่มา: Sufficiency Carbon Society มาสร้าง ‘สังคมคาร์บอนพอเพียง’ ด้วยกัน. ๒๔ (April-June ๒๐๑๐): ๓๖-๔๑

    วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    ดันภาคอุตฯผลิตสินค้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

    สมอ.และสถาบันสิ่งทอดันภาคอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าสีเขียวของอาเซียนในปี 2560
    นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ.และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้จัดทำแผนเพิ่มขีดความสามารถ อุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรประยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยยื่นของบประมาณจำนวน 300 ล้านบาทเพื่อนำจะพัฒนาผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ เช่น สิ่งทอ ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อมของอาเซียนภายในปี 2560
    ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าในสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ล้วนให้ความสำคัญต่อสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรต่อสังคม ผู้ประกอบการไทยจึงต้องพัฒนาการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้กับการผลิตสินค้า และเรื่องนี้ก็ถือเป็นการกีดกันทางการค้ารูปแบบหนึ่งที่ผู้ซื้อสร้างขึ้นมา เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง ไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด
    “จากแผนในระยะแรกที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2550-2552 งบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เพราะประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ส่งออกสินค้า ถ้าไทยไม่ปรับตัวจะเสียโอกาสทางการตลาด จึงได้มีการผลักดันแผนระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อให้ไทยสามารถผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด” นายชัยยง กล่าว
    นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า ในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการแข่งขันสูงและมีความต้องการสินค้าสิ่งและ เครื่องนุ่งห่มที่รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมาก ผู้ประกอบการไทยจึงเริ่มปรับตัว ซึ่งในขณะนี้ไทยถือว่าเป็นผู้นำและเตรียมความพร้อมมาอย่างดี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการสิ่งทอได้รับใบรับรองฉลากแสดงปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจกตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) แล้วจำนวน 16 โรงงาน
    ทั้งนี้ การได้รับใบรับรองจะทำให้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มราคาสินค้าได้เพิ่มขึ้นอีก 5-15% และลูกค้าก็ยอมรับในคุณภาพสินค้า โดยตลาดหลักๆ ที่เน้นการนำมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาใช้มากที่สุด คือ สหภาพยุโรป ที่เป็นตลาดส่งออกสิ่งทออันดับ 2 ของไทย มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มนำมาตรฐานนี้มาใช้บ้างแล้ว จากเดิมที่สนใจแต่ด้านราคา รวมถึงญี่ปุ่น ก็เริ่มตื่นตัวแล้วเช่นเดียวกัน
    “การติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นในสินค้าไม่ได้ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่ม ขึ้นมาก แต่เกิดจากความตั้งใจของผู้ประกอบการมากกว่า เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องการลดใช้พลังงาน ลดใช้น้ำ ในกระบวนการผลิต ซึ่งทางสถาบันต้องการผลักดันให้ผู้ประกอบการ หันมาสนใจและขยายความตระหลักออกไปในวงกว้างที่สุดจนถึงผู้ผลิตระดับเอสเอ็ม อี” นายวิรัตน์ กล่าว
    นายเดช พัฒนเศรษฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัททองไทยการทอ กล่าวว่า การนำมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการผลิตนอกจากจะช่วยให้สินค้าได้ รับการยอมรับจากลูกค้าแล้ว ยังเป็นวิธีในการลดต้นทุนการผลิตทางหนึ่งด้วย เพราะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เท่ากับการลดการใช้พลังงาน ซึ่งเรื่องนี้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถทำได้ไม่ยาก อยู่ที่ความตั้งใจทำมากที่สุด

    ซีพี-มาม่า-องุ่น”แห่ติดฉลากคาร์บอน ขี่กระแสลดโลกร้อนหวังบุกตลาดตปท.

    กระแสโลกร้อนมาแรง เอกชนแห่ขอติดฉลากคาร์บอนทั้งรายเล็กรายใหญ่เกือบ 100 บริษัทกว่า 300 ผลิตภัณฑ์ นำทีมโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ขอติดฉลากมากที่สุด ตามมาด้วยมาม่า สหพัฒน์, โค้กกระป๋อง, เบทาโกร, ซีเล็คทูน่า, เขียวหวานการบินไทย, น้ำมันพืชองุ่น ไปจนกระทั่งถึงเสื้อแอร์โร่ว์ ชี้ผู้บริโภคในสหภาพยุโรปต้องการสินค้าลดโลกร้อน ใครไม่ทำมีสิทธิตกขบวน แข่งขันไม่ได้

    นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากที่ อบก.ได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชน ติดฉลากคาร์บอนในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสในการจำหน่ายสินค้า ปรากฏขณะนี้มีเอกชนจำนวนมากมาขอการรับรองติดฉลากคาร์บอนไปแล้วมากกว่า 100 บริษัท 300 ผลิตภัณฑ์
    ทั้งนี้ อบก.ได้ให้การรับรองฉลากคาร์บอน 3 รายการ ได้แก่ 1) คาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) หมายถึง ฉลากที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ-การขนส่ง-การประกอบชิ้นส่วน-การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปัจจุบัน ได้รับการรับรองไปแล้ว 52 บริษัทจำนวน 196 ผลิตภัณฑ์ อาทิ บริษัทซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ขอติดฉลากในผลิตภัณฑ์ไก่ย่างเทอริยากิ-เนื้อไก่สด-ไก่ห่อสาหร่าย-อาหารไก่, บริษัท เพรซิเดนท์ไรซ์ โปรดักส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เบทราโกร จำกัด (มหาชน) อาหารไก่เนื้อเบอร์ 203 และบริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
    2) ฉลากลดคาร์บอน (Carbon reduction label) หมายถึง ฉลากที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ โดยการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) หรือสินค้าตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบ-การผลิต-การใช้และการจัดการหลังการใช้ได้รับรองแล้ว 29 บริษัท จำนวน 130 ผลิตภัณฑ์ อาทิ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ผลิตภัณฑ์ ผงพลาสติกพีวีซี, บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก, บริษัท น้ำตาลวังขนาย จำกัด ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาวตราวังขนาย และบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผลิตภัณฑ์สตรอว์เบอร์รี่อบแห้ง
    3) คูลโมด (Cool Mode) หมายถึง ฉลากที่ติดในผลิตภัณฑ์ผ้าผืนหรือเสื้อผ้าเพื่อบอกถึงคุณสมบัติผ้าชนิดนั้น ๆ เป็นผ้าลดโลกร้อน สวมใส่แล้วเย็นสบายและทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อลดการใช้พลังงานในเครื่องปรับอากาศ การซักทำความสะอาด และการใช้น้ำ ปัจจุบัน อบก.ให้การรับรองไปแล้ว 6 บริษัท จำนวน 15 โครงสร้างผ้า อาทิ บริษัท ประชาอาภรณ์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน)
    “ขณะนี้เอกชนให้ความสำคัญกับฉลากคาร์บอนมาก เช่น บริษัท ซีพีเอฟ ที่มีการตั้งทีมงานขึ้นมาคำนวณการปล่อยและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัท พร้อมทั้งจ้างหน่วยงานทวนสอบจากการคำนวณดังกล่าว เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้นำเข้าที่ต้องการตัวเลขการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแสดงให้กับผู้บริโภคเห็น” นายศิริธัญญ์กล่าว
    มีข้อน่าสังเกตว่า ทิศทางการพัฒนาในขณะนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น การดำเนินการหลาย ๆ อย่างถูกนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องของโลกร้อน รวมถึงขั้นตอนการผลิตสินค้าตั้งแต่ต้นจนจบควรจะต้องมีเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ-สหภาพยุโรปให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้ปัจจุบันจะไม่มีประเทศไหนบังคับให้สินค้าต้องติดฉลากคาร์บอน แต่หากผู้ประกอบการรายไหนสามารถดำเนินการได้ก็จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าที่ไม่ได้ติดฉลาก หรือสร้างโอกาสการขายสินค้ามากขึ้น รวมถึงในอนาคตที่ประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาจจะประกาศบังคับใช้ให้ ผู้ผลิต-ผู้นำเข้าติดฉลากคาร์บอน ดังนั้นการดำเนินการขณะนี้จึงเท่ากับเป็นการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าได้
    สำหรับขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนและรับรองฉลากคาร์บอนจะเริ่มต้นจากบริษัทผู้ขอการรับรองจะต้องคำนวณค่าคาร์บอนที่ปล่อยหรือลดได้จากกระบวน การผลิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จากนั้น จะเป็นกระบวนการทวนสอบข้อมูลค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ โดยให้บริษัทประสานงานกับผู้ทวนสอบที่ขึ้นทะเบียนกับ อบก. (Registered Carbon Footprint Verifier) เพื่อทวนสอบและรับรองข้อมูลปริมาณคาร์บอน และนำผลการคำนวณที่ได้จากผู้ทวนสอบไปแจ้งกับสำนักพัฒนาธุรกิจ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) ที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ นำเสนอต่อคณะทำงานฯ เพื่อขออนุมัติติดฉลากต่อไป
    ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

    วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    วอลมาร์ทจับมือซัพพลายเออร์ลดปฏิกิริยาเรือนกระจก

    ความร่วมมือกับซัพพลายเออร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่การพัฒนา
    การวัดมาตรฐาน และการประเมินค่าเพื่อการลดปริมาณคาร์บอน ห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ทประกาศลดการปล่อยพลังงานก๊าซเรือนกระจก (GHG) 20 ล้านแมคตริกตันจากซัพพลายเชนทั่วโลกให้ได้ในปี 2558 ตัวเลขนี้เป็นค่ากึ่งหนึ่งของบริษัทฯ ที่คาดว่าจะก่อให้เกิดคาร์บอนฟุตพรินท์ในอีก 5 ปีข้างหน้าและเทียบเท่ากับจำนวนก๊าซที่รถยนต์ปล่อยมาทั้งหมด 3.8 ล้านคันในหนึ่งปี


    Mike Duke ประธานและ CEO แห่งวอลมาร์ทกล่าวว่า “การใช้พลังงานและการลดปริมาณคาร์บอนเป็นเรื่องสำคัญของโลกในปัจจุบัน เรากำลังทำงานร่วมกันกับทุกๆ หน่วยงานทั้งการตรวจสอบฟุต พรินท์ในองค์กรเองและซัพพลายเชนทั่วโลก”

    สำหรับฟุตพรินท์ของซัพพลายเชนทั่วโลกที่ส่งสินค้าไปยังห้างวอลมาร์ทมีการปล่อยพลังงานมากกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปฏิบัติการของห้างวอลมาร์ทเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินท์ของซัพพลายเชนลง

    “การลดปริมาณคาร์บอนในวงจรผลิตภัณฑ์ส่วนมากหมายถึงการลดใช้พลังงาน นั่นหมายถึงประสิทธิภาพที่มากขึ้น ในขณะนี้ค่าต้นทุนด้านพลังงานมากขึ้น ถ้าลดต้นทุนได้จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งและแข่งขันกับที่อื่นได้ เรายังช่วยซัพพลายเออร์ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และคาร์บอนฟุตพรินท์ ทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถช่วยลูกค้าได้เช่นเดียวกัน” Mike Duke กล่าวเสริม
    ห้างวอลมาร์ทร่วมมือกับกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อมหรือ Environmental Defense Fund (EDF) เพื่อพัฒนาหามาตรฐานให้กับซัพพลายเชนทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ปรึกษาเช่น PricewaterhouseCoopers, ClearCarbon Inc. โครงการ Carbon Disclosure Project และ Applied Sustainability Center ของมหาวิทยาลัยอาแคนซัส หน่วยงานพร้อมที่ปรึกษาจะร่วมกันพัฒนาโครงการ แนวทางการลดคาร์บอนฟุตพรินท์ สนับสนุนให้ซัพพลายเออร์และตรวจสอบซัพพลายเออร์ตามกระบวนการ และดำเนินการตามกฎระเบียบของการลดพลังงานก๊าซเรือนกระจก
    “ในปัจจุบันบริษัทต่างๆ ทั่วโลกต่างเริ่มแข่งขันกันในเรื่องลดปริมาณคาร์บอน ห้างวอลมาร์ทชูประเด็นนี้ขึ้นมาจะช่วยให้บริษัทหลายแห่งรู้ถึงขั้นตอนการลดต้นทุนและมลพิษ และจะทำให้ซัพพลายเชนต่างๆ หันมาสนใจลดการใช้ปริมาณคาร์บอนกันมากขึ้น” Fred Krupp ประธานกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อม กล่าวปิดท้าย

    สาระสำคัญของการลดการปล่อยพลังงานก๊าซเรือนกระจก
    การคัดเลือก วอลมาร์ทจะเน้นเรื่องการจัดกลุ่มสินค้าตามลำดับการใช้ปริมาณคาร์บอน การหาปริมาณคาร์บอนจะทำโดยหน่วยงาน ASC ซึ่งจะดูสินค้าของวอลมาร์ททั้งหมด ขั้นตอนนี้จะทำให้ทีมวิจัยเน้นเรื่องกลุ่มสินค้าที่มีโอกาสลดปริมาณคาร์บอน การลดปริมาณคาร์บอนสามารถทำได้ทุกวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

    การปฏิบัติ ในขั้นตอนนี้จะต้องลด GHGs ในผลิตภัณฑ์ให้ได้ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการซอร์สซิ่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง เมื่อลูกค้านำไปใช้ จนถึงวงจรสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ ห้างวอลมาร์ทจะต้องแสดงเห็นอย่างจริงจังในการลดปริมาณคาร์บอนของสินค้าในเครือ
    การประเมินผล ซัพพลายเออร์และห้างวอลมาร์ทจะช่วยกันรับผิดชอบเรื่องการลดพลังงาน หน่วยงาน ClearCarbon จะปฏิบัติในเรื่องวิธีการการรักษาคุณภาพตามระเบียบวิธีวิจัย หลังจากนั้น PricewaterhouseCoopers จะประเมินว่าสินค้านั้นผ่านกระบวนการตรวจสอบตามที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานหรือไม่

    วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    มาคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์กันเถอะ!


    โปรแกรมการคำนวณนี้จัดทำโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มาดูกันซิว่าแต่ละวันท่านปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปริมาณเท่าไหร่ มาคำนวณกันเลย 



    ขนาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่คำนวณโดยเว็บไซด์นี้ หมายถึง ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคไทยทั่วไป ได้แก่ กิจกรรมในบ้านเรือน กิจกรรมในสถานที่ทำงาน การเดินทางไปทำงานหรือสันทนาการ ตลอดจนกิจกรรมการบริโภคอาหาร แสดงผลเป็น กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า พร้อมทั้งการแสดงผลในรูปกราฟบ่งชี้กิจกรรม ที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด และพื้นที่ป่าที่ต้องการในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก เพื่อการชดเชยการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนทางเลือกในการช่วยลดปริมาณ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    Water Footprint3

    หลังจากที่ท่านได้เริ่มรู้จักคาร์บอน ฟุตปริ๊นท์ (Carbon footprint) กันไปบ้างแล้ว และบางองค์กรอาจจะชิมลางคำนวณวัดรอยเท้าคาร์บอนของตัวเอง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการออกฉลากคาร์บอนผลิตภัณฑ์ ของตัวเองกันแล้ว ทีนี้เราลองมาทำความรู้จักและเตรียมรับมือกับรอยเท้าใหม่อีกรอยเท้าหนึ่ง นั่นคือ“รอยเท้าน้ำ”หรือ” Water footprint “


     ข้อกำหนดของ Water footprint มีอะไรบ้าง ลองมาดูกันหน่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอบอกก่อนว่า ยังไม่รับประกันว่าจะมีการปรับปรุงไปต่างจากนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะสถานะตอนนี้เป็นแค่ ISO /PWD (3) 14046 Water footprint -Requirements and guidelines เท่านั้น ดังนี้
    1. Scope
    2. Notmative reference
    3. Terms and definitions
    4. Methodological framework for water footprint
    4.1 General requirements
    4.2 Goal and scope definition
    4.3 Water inventory
    4.4 Water impact asessment and interpretation
    4.5 Interpretation of the result 
              5. Reporting
    5.1 General
    5.2 Water inventory
    5.3 Water inpact assessment 
    6. Critical review
    6.1 General principle for review
    6.2 Need for critical review
    6.3 Critical review panel
     
     นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในแง่ของ terms and definition หลายๆ คำก็พบว่ายังไม่มีความชัดเจน เช่น Water stress ตามนิยามหมายถึง situation in where stress on the environment and human occurs related to the water impact, either because of demand on it or when poor water quality restricts its use ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในแต่ละพื้นที่ แต่ละทวีป ว่าระดับ stress เป็นตัวเลขเพื่อนำมาใช้ในการประเมินนั้นเป็นอย่างไร จำเป็นหรือไม่ต้องมีการกำหนดเป็นค่ากลางขึ้นมา เช่นเดียวกับ คาร์บอนที่มีการกำหนดค่า Global waring potential เพื่อใช้ในการคำนวณ ทำให้ค่าที่ได้มีความน่าเชื่อถือและเป็นค่าสากลที่สามารถใช้ในการเทียบเคียงปัญหาน้ำทั้งโลกทุกทวีปได้ หรือ แม้แต่คำว่า Water quality ที่ครอบคลุม คุณภาพทางกายภาพ ชีวภาพ หรือเคมี หรือมีขอบเขตเท่าใด เป็นต้น


     ซึ่งทั้งนิยามและข้อกำหนดยังต้องมีการถกกันในที่ประชุมอีกหลายเวทีและหลายครั้งจนกว่าจะคลอดออกมาเป็น ISO ฉบับใช้งาน น่าจะราวสัก 3-5 ปี เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำของประเทศ พบว่ามีหลายหน่วยงานด้วยกันที่จะต้องทำการบ้านเป็นการด่วนเพื่อรองรับมาตรฐานนี้ เช่น กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น เนื่องจากในการคำนวณจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลการใช้และบริโภคน้ำในแต่ละกิจกรรม ซึ่งแน่นอนว่าบ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ฐานข้อมูลด้านน้ำในการคำนวณผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ส่งเข้าภาคอุตสาหกรรมอีกต่อหนึ่ง

    แล้วฉลาก water footprint เป็นอย่างไร

     Water footprint เป็นฉลากแสดงปริมาณการใช้น้ำตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนถึงการทำลายทิ้ง โดยใช้วิธีการประเมินแบบเดียวกับฉลากคาร์บอนฟุตปริ๊นท์ เราลองมาดูกันเล่นๆ ซิว่า อาหารที่กินในแต่ละวันต้องใช้น้ำในการผลิตกันไปเท่าไหร่บ้าง มีฝรั่งคำนวณไว้ให้แล้วในตารางที่ 1

     

     ต่อไปนี้จะทำอะไร จะกินอะไร อาจจะต้องมานั่งคำนวณว่าใช้ทรัพยากรน้ำกันไปมากน้อยแค่ไหน แม้แต่จะดื่มกาแฟแก้วหนึ่ง ยังต้องมาคิดเทียบกลับว่าดื่มน้ำดีกว่าหรือไม่ เพราะกาแฟแก้วหนึ่งต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตถึง 150 ลิตร แล้วเราจะเลือกดื่มกาแฟหรือน้ำดีกว่ากัน..... ไม่รู้ว่าทำแล้วได้อะไร แต่ในมุมมองของผู้เขียนเอง คิดว่าอย่างน้อย ก่อนที่จะทำอะไรใช้ชีวิตในแต่ละวัน ต้องมีสติพิจารณากันสักนิด ว่าเราทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากน้อยแค่ไหน อย่ามุ่งเข้าสู่ลัทธิบริโภคนิยมจนเกินงาม เพราะทุกสิ่งอย่างที่บริโภค อุปโภคอยู่นั้น หมายถึง ทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงคนทั้งโลกถูกใช้ไปทุกๆ วันและอาจจะไร้ประโยชน์เสียด้วยในบางครั้ง เราเองอาจจะได้ประสบภาวะขาดแคลนน้ำในช่วงชีวิตของเราก็เป็นได้ ถ้าไม่เริ่มประหยัดและอนุรักษ์น้ำกันตั้งแต่วันนี้

    ที่มา : ดร.จิราวรรณ จำปานิล ผู้จัดการแผนกสิ่งแวดล้อม Jirawan.j@npc-se.co.th