ความร่วมมือกับซัพพลายเออร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่การพัฒนา
การวัดมาตรฐาน และการประเมินค่าเพื่อการลดปริมาณคาร์บอน ห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ทประกาศลดการปล่อยพลังงานก๊าซเรือนกระจก (GHG) 20 ล้านแมคตริกตันจากซัพพลายเชนทั่วโลกให้ได้ในปี 2558 ตัวเลขนี้เป็นค่ากึ่งหนึ่งของบริษัทฯ ที่คาดว่าจะก่อให้เกิดคาร์บอนฟุตพรินท์ในอีก 5 ปีข้างหน้าและเทียบเท่ากับจำนวนก๊าซที่รถยนต์ปล่อยมาทั้งหมด 3.8 ล้านคันในหนึ่งปี
Mike Duke ประธานและ CEO แห่งวอลมาร์ทกล่าวว่า “การใช้พลังงานและการลดปริมาณคาร์บอนเป็นเรื่องสำคัญของโลกในปัจจุบัน เรากำลังทำงานร่วมกันกับทุกๆ หน่วยงานทั้งการตรวจสอบฟุต พรินท์ในองค์กรเองและซัพพลายเชนทั่วโลก”
สำหรับฟุตพรินท์ของซัพพลายเชนทั่วโลกที่ส่งสินค้าไปยังห้างวอลมาร์ทมีการปล่อยพลังงานมากกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปฏิบัติการของห้างวอลมาร์ทเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินท์ของซัพพลายเชนลง
“การลดปริมาณคาร์บอนในวงจรผลิตภัณฑ์ส่วนมากหมายถึงการลดใช้พลังงาน นั่นหมายถึงประสิทธิภาพที่มากขึ้น ในขณะนี้ค่าต้นทุนด้านพลังงานมากขึ้น ถ้าลดต้นทุนได้จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งและแข่งขันกับที่อื่นได้ เรายังช่วยซัพพลายเออร์ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และคาร์บอนฟุตพรินท์ ทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถช่วยลูกค้าได้เช่นเดียวกัน” Mike Duke กล่าวเสริม
ห้างวอลมาร์ทร่วมมือกับกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อมหรือ Environmental Defense Fund (EDF) เพื่อพัฒนาหามาตรฐานให้กับซัพพลายเชนทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ปรึกษาเช่น PricewaterhouseCoopers, ClearCarbon Inc. โครงการ Carbon Disclosure Project และ Applied Sustainability Center ของมหาวิทยาลัยอาแคนซัส หน่วยงานพร้อมที่ปรึกษาจะร่วมกันพัฒนาโครงการ แนวทางการลดคาร์บอนฟุตพรินท์ สนับสนุนให้ซัพพลายเออร์และตรวจสอบซัพพลายเออร์ตามกระบวนการ และดำเนินการตามกฎระเบียบของการลดพลังงานก๊าซเรือนกระจก
“ในปัจจุบันบริษัทต่างๆ ทั่วโลกต่างเริ่มแข่งขันกันในเรื่องลดปริมาณคาร์บอน ห้างวอลมาร์ทชูประเด็นนี้ขึ้นมาจะช่วยให้บริษัทหลายแห่งรู้ถึงขั้นตอนการลดต้นทุนและมลพิษ และจะทำให้ซัพพลายเชนต่างๆ หันมาสนใจลดการใช้ปริมาณคาร์บอนกันมากขึ้น” Fred Krupp ประธานกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อม กล่าวปิดท้าย
สาระสำคัญของการลดการปล่อยพลังงานก๊าซเรือนกระจก
การคัดเลือก วอลมาร์ทจะเน้นเรื่องการจัดกลุ่มสินค้าตามลำดับการใช้ปริมาณคาร์บอน การหาปริมาณคาร์บอนจะทำโดยหน่วยงาน ASC ซึ่งจะดูสินค้าของวอลมาร์ททั้งหมด ขั้นตอนนี้จะทำให้ทีมวิจัยเน้นเรื่องกลุ่มสินค้าที่มีโอกาสลดปริมาณคาร์บอน การลดปริมาณคาร์บอนสามารถทำได้ทุกวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
การปฏิบัติ ในขั้นตอนนี้จะต้องลด GHGs ในผลิตภัณฑ์ให้ได้ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการซอร์สซิ่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง เมื่อลูกค้านำไปใช้ จนถึงวงจรสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ ห้างวอลมาร์ทจะต้องแสดงเห็นอย่างจริงจังในการลดปริมาณคาร์บอนของสินค้าในเครือ
การประเมินผล ซัพพลายเออร์และห้างวอลมาร์ทจะช่วยกันรับผิดชอบเรื่องการลดพลังงาน หน่วยงาน ClearCarbon จะปฏิบัติในเรื่องวิธีการการรักษาคุณภาพตามระเบียบวิธีวิจัย หลังจากนั้น PricewaterhouseCoopers จะประเมินว่าสินค้านั้นผ่านกระบวนการตรวจสอบตามที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น