วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Water Footprint3

หลังจากที่ท่านได้เริ่มรู้จักคาร์บอน ฟุตปริ๊นท์ (Carbon footprint) กันไปบ้างแล้ว และบางองค์กรอาจจะชิมลางคำนวณวัดรอยเท้าคาร์บอนของตัวเอง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการออกฉลากคาร์บอนผลิตภัณฑ์ ของตัวเองกันแล้ว ทีนี้เราลองมาทำความรู้จักและเตรียมรับมือกับรอยเท้าใหม่อีกรอยเท้าหนึ่ง นั่นคือ“รอยเท้าน้ำ”หรือ” Water footprint “


 ข้อกำหนดของ Water footprint มีอะไรบ้าง ลองมาดูกันหน่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอบอกก่อนว่า ยังไม่รับประกันว่าจะมีการปรับปรุงไปต่างจากนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะสถานะตอนนี้เป็นแค่ ISO /PWD (3) 14046 Water footprint -Requirements and guidelines เท่านั้น ดังนี้
1. Scope
2. Notmative reference
3. Terms and definitions
4. Methodological framework for water footprint
4.1 General requirements
4.2 Goal and scope definition
4.3 Water inventory
4.4 Water impact asessment and interpretation
4.5 Interpretation of the result 
          5. Reporting
5.1 General
5.2 Water inventory
5.3 Water inpact assessment 
6. Critical review
6.1 General principle for review
6.2 Need for critical review
6.3 Critical review panel
 
 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในแง่ของ terms and definition หลายๆ คำก็พบว่ายังไม่มีความชัดเจน เช่น Water stress ตามนิยามหมายถึง situation in where stress on the environment and human occurs related to the water impact, either because of demand on it or when poor water quality restricts its use ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในแต่ละพื้นที่ แต่ละทวีป ว่าระดับ stress เป็นตัวเลขเพื่อนำมาใช้ในการประเมินนั้นเป็นอย่างไร จำเป็นหรือไม่ต้องมีการกำหนดเป็นค่ากลางขึ้นมา เช่นเดียวกับ คาร์บอนที่มีการกำหนดค่า Global waring potential เพื่อใช้ในการคำนวณ ทำให้ค่าที่ได้มีความน่าเชื่อถือและเป็นค่าสากลที่สามารถใช้ในการเทียบเคียงปัญหาน้ำทั้งโลกทุกทวีปได้ หรือ แม้แต่คำว่า Water quality ที่ครอบคลุม คุณภาพทางกายภาพ ชีวภาพ หรือเคมี หรือมีขอบเขตเท่าใด เป็นต้น


 ซึ่งทั้งนิยามและข้อกำหนดยังต้องมีการถกกันในที่ประชุมอีกหลายเวทีและหลายครั้งจนกว่าจะคลอดออกมาเป็น ISO ฉบับใช้งาน น่าจะราวสัก 3-5 ปี เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำของประเทศ พบว่ามีหลายหน่วยงานด้วยกันที่จะต้องทำการบ้านเป็นการด่วนเพื่อรองรับมาตรฐานนี้ เช่น กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น เนื่องจากในการคำนวณจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลการใช้และบริโภคน้ำในแต่ละกิจกรรม ซึ่งแน่นอนว่าบ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ฐานข้อมูลด้านน้ำในการคำนวณผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ส่งเข้าภาคอุตสาหกรรมอีกต่อหนึ่ง

แล้วฉลาก water footprint เป็นอย่างไร

 Water footprint เป็นฉลากแสดงปริมาณการใช้น้ำตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนถึงการทำลายทิ้ง โดยใช้วิธีการประเมินแบบเดียวกับฉลากคาร์บอนฟุตปริ๊นท์ เราลองมาดูกันเล่นๆ ซิว่า อาหารที่กินในแต่ละวันต้องใช้น้ำในการผลิตกันไปเท่าไหร่บ้าง มีฝรั่งคำนวณไว้ให้แล้วในตารางที่ 1

 

 ต่อไปนี้จะทำอะไร จะกินอะไร อาจจะต้องมานั่งคำนวณว่าใช้ทรัพยากรน้ำกันไปมากน้อยแค่ไหน แม้แต่จะดื่มกาแฟแก้วหนึ่ง ยังต้องมาคิดเทียบกลับว่าดื่มน้ำดีกว่าหรือไม่ เพราะกาแฟแก้วหนึ่งต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตถึง 150 ลิตร แล้วเราจะเลือกดื่มกาแฟหรือน้ำดีกว่ากัน..... ไม่รู้ว่าทำแล้วได้อะไร แต่ในมุมมองของผู้เขียนเอง คิดว่าอย่างน้อย ก่อนที่จะทำอะไรใช้ชีวิตในแต่ละวัน ต้องมีสติพิจารณากันสักนิด ว่าเราทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากน้อยแค่ไหน อย่ามุ่งเข้าสู่ลัทธิบริโภคนิยมจนเกินงาม เพราะทุกสิ่งอย่างที่บริโภค อุปโภคอยู่นั้น หมายถึง ทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงคนทั้งโลกถูกใช้ไปทุกๆ วันและอาจจะไร้ประโยชน์เสียด้วยในบางครั้ง เราเองอาจจะได้ประสบภาวะขาดแคลนน้ำในช่วงชีวิตของเราก็เป็นได้ ถ้าไม่เริ่มประหยัดและอนุรักษ์น้ำกันตั้งแต่วันนี้

ที่มา : ดร.จิราวรรณ จำปานิล ผู้จัดการแผนกสิ่งแวดล้อม Jirawan.j@npc-se.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น