วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดันภาคอุตฯผลิตสินค้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

สมอ.และสถาบันสิ่งทอดันภาคอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าสีเขียวของอาเซียนในปี 2560
นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ.และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้จัดทำแผนเพิ่มขีดความสามารถ อุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรประยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยยื่นของบประมาณจำนวน 300 ล้านบาทเพื่อนำจะพัฒนาผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ เช่น สิ่งทอ ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อมของอาเซียนภายในปี 2560
ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าในสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ล้วนให้ความสำคัญต่อสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรต่อสังคม ผู้ประกอบการไทยจึงต้องพัฒนาการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้กับการผลิตสินค้า และเรื่องนี้ก็ถือเป็นการกีดกันทางการค้ารูปแบบหนึ่งที่ผู้ซื้อสร้างขึ้นมา เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง ไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด
“จากแผนในระยะแรกที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2550-2552 งบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เพราะประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ส่งออกสินค้า ถ้าไทยไม่ปรับตัวจะเสียโอกาสทางการตลาด จึงได้มีการผลักดันแผนระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อให้ไทยสามารถผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด” นายชัยยง กล่าว
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า ในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการแข่งขันสูงและมีความต้องการสินค้าสิ่งและ เครื่องนุ่งห่มที่รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมาก ผู้ประกอบการไทยจึงเริ่มปรับตัว ซึ่งในขณะนี้ไทยถือว่าเป็นผู้นำและเตรียมความพร้อมมาอย่างดี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการสิ่งทอได้รับใบรับรองฉลากแสดงปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจกตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) แล้วจำนวน 16 โรงงาน
ทั้งนี้ การได้รับใบรับรองจะทำให้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มราคาสินค้าได้เพิ่มขึ้นอีก 5-15% และลูกค้าก็ยอมรับในคุณภาพสินค้า โดยตลาดหลักๆ ที่เน้นการนำมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาใช้มากที่สุด คือ สหภาพยุโรป ที่เป็นตลาดส่งออกสิ่งทออันดับ 2 ของไทย มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มนำมาตรฐานนี้มาใช้บ้างแล้ว จากเดิมที่สนใจแต่ด้านราคา รวมถึงญี่ปุ่น ก็เริ่มตื่นตัวแล้วเช่นเดียวกัน
“การติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นในสินค้าไม่ได้ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่ม ขึ้นมาก แต่เกิดจากความตั้งใจของผู้ประกอบการมากกว่า เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องการลดใช้พลังงาน ลดใช้น้ำ ในกระบวนการผลิต ซึ่งทางสถาบันต้องการผลักดันให้ผู้ประกอบการ หันมาสนใจและขยายความตระหลักออกไปในวงกว้างที่สุดจนถึงผู้ผลิตระดับเอสเอ็ม อี” นายวิรัตน์ กล่าว
นายเดช พัฒนเศรษฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัททองไทยการทอ กล่าวว่า การนำมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการผลิตนอกจากจะช่วยให้สินค้าได้ รับการยอมรับจากลูกค้าแล้ว ยังเป็นวิธีในการลดต้นทุนการผลิตทางหนึ่งด้วย เพราะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เท่ากับการลดการใช้พลังงาน ซึ่งเรื่องนี้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถทำได้ไม่ยาก อยู่ที่ความตั้งใจทำมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น