วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Carbon Footprint สำคัญอย่างไรกับการส่งออกไทย

ผลกระทบของ Carbon Footprint ต่อสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
จากผลการศึกษาของ ดร.ยุวนันท์ สันติทวีฤกษ์และคณะจากฝ่ายวิจัยนโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  พบว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่เริ่มใช้ Carbon Footprint และการออกฉลาก Carbon label ตั้งแต่ปี 2550 – 2551 เพื่อส่งเสริม ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศใช้สินค้าและบริการคาร์บอนต่ำ เพื่อนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas : GHG) รวมของประเทศตามที่ระบุไว้ในพันธกรณี ภายใต้พิธีสาร เกียวโต จึงส่งผลให้ Carbon Footprint มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ที่มิใช่ภาษี  (Non Tariff Barrier) รูปแบบใหม่ที่บริษัทผู้นำเข้าและประเทศคู่ค้าหลักของไทยใช้ในการพิจารณาสั่งซื้อ สินค้า ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อผู้ประกอบการ กล่าวคือ 1) การกดดันจากภาครัฐที่ต้องการสินค้าและบริการ คาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการผลิตและบริโภคแบบยั่งยืน โดยออกโครงการนำร่องการติดฉลาก Carbon Footprint บนผลิตภัณฑ์และบริการ นำมาซึ่งการใช้มาตรการการเงิน อาทิ Carbon tax และ Carbon Malus 2) การกดดันจากนักลงทุนที่จะพิจารณาสั่งซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งร่วมลงทุนกับบริษัทที่สามารถพัฒนา ตนเองให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เช่น พิจารณาจากการจัดทำรายงานการปล่อย GHG ประจำปีของบริษัท และ 3) การกดดันจากผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าและบริการคาร์บอนต่ำ
      ประเทศที่มีกระบวนการติดฉลาก Carbon Footprint แล้ว 
     - เกษตรและอาหาร ได้แก่ ผลไม้ ผัก เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ไวน์ ผลิตภัณฑ์นม ฯลฯ พบฉลากบนสินค้า
ของฝรั่งเศส สเปน เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์และสวีเดน
     - สินค้าอุปโภค ได้แก่ ยาสระผม เจลอาบน้ำ ผงซักฟอก เสื้อยืด cotton เสื้อผ้าเด็ก ฯลฯ พบฉลากบน
สินค้าของสหราชอาณาจักร สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมนี และจีน
     - เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ พบฉลากบนสินค้าของไต้หวัน
     - ผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ พบฉลากบนสินค้าของสหภาพยุโรป
      มาตรการภาครัฐที่สำคัญของตลาดหลักของไทย ได้แก่
      - สหภาพยุโรป มีมาตรการได้แก่ การกำหนดมาตรฐานการปล่อย Co2 ของรถยนต์ใหม่ ว่าไม่ให้เกิน 130 กรัม/กิโลเมตร ภายในปี 2558 และไม่เกิน 95 กรัมภายในปี 2563
      - สหรัฐอเมริกา มีมาตรการ ได้แก่ ห้างค้าปลีก Wal-Mart จะขยายการทำงานร่วมกับผู้ผลิต อาหารและเสื้อผ้าเพื่อลดการปล่อย GHG ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ การขอข้อมูลการปล่อย GHG การใช้พลังงาน วัตถุดิบ จากผู้ผลิตสินค้าทั่วโลกจำนวน 100,000 รายเพื่อพัฒนา Worldwide Sustainable Index ภายในปี 2557 เป็นต้น
      - สหราชอาณาจักร มีมาตรการได้แก่ ห้างค้าปลีก Tesco จะลดการนำเข้าสินค้าด้วยวิธีขนส่งทาง อากาศให้ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของสินค้าทั้งหมด และจะติดฉลาก CF ในผลิตภัณฑ์อาหาร 70,000 รายการ เป็นต้น
      แนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออกไทย      - กลุ่มสินค้า/ประเทศคู่ค้าไทยที่ติดฉลากแล้ว อาทิ สินค้าเกษตร ข้าว ทูน่ากระป๋อง ฯลฯ สินค้าอุตสาหกรรม เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ โดยไทยจะต้องจัดทำฐานข้อมูลและงานวิจัยเพื่อลด GHG การใช้พลังงานทดแทน ฯลฯ เพื่อช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่
     - กลุ่มสินค้าที่ไทยควรเตรียมความพร้อม อาทิ สินค้าเกษตร ยางพารา กล้วยไม้ สินค้า
อุตสาหกรรม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ฯลฯ โดยไทยจะต้อง
ส่งเสริมให้เกษตรกรและโรงงานผลิตยางแบบ Low carbon และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรักษาส่วนแบ่ง
ตลาดที่มีอยู่และเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด
     - กลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มติดฉลาก อาทิ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์กุ้ง น้ำตาลทราย ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ฯลฯ สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯลฯ โดยไทยจะ
ต้องจัดทำฐานข้อมูลระดับชาติเพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการประเมิน Carbon Footprint ของประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น