วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บัญชีคาร์บอนฟุตพริ้นท์//ดร. ชิต เหล่าวัฒนา

 บทความก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำโครงการคาร์บอนฟุตพรินท์ ที่ ดร. วรพจน์ อังกสิทธิ์ แห่งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้นำทีมนักวิจัยและนักศึกษาของสถาบันดำเนินการศึกษาโดยนำร่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่ง คือ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองสีคิ้ว เทศบาลเมืองแกลง และเทศบาลตำบลอัมพวา ปรากฎว่ามีหน่วยงานรัฐและภาคประชาชนสอบถามเข้ามากในรายละเอียด ผมจึงขอ update ความก้าวหน้าดังต่อไปนี้
       
       สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือหลักการของการทำบัญชีและรายงานก๊าซเรือนกระจกนั้นต้องนำมาเป็นพื้นฐานของการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานและการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์นั้นมีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้อง และมีการประเมินอย่างเป็นระบบ โดยนำหลักการของ GHG Protocol มาเป็นพื้นฐาน:
       
       1.Relevance การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกนั้นต้องสะท้อนถึงก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่องค์กรฯ ปฏิบัติอยู่อย่างเหมาะสมและสะท้อนถึงกิจกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรฯ
       
       2.Completeness การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกขององค์กรฯ จะต้องครอบคลุมแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกทั้งที่ถูกปล่อยออกมาและทราบถึงกิจกรรมที่เป็นต้นทางของแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรฯ
       
       3.Consistency การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกขององค์กรฯ จะต้องมีการทำอย่างเป็นระบบ ต้องมีวิธีการที่สามารถอ้างอิงได้ในกรณีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ การระบุขอบเขตของกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวณข้อมูล การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลจะต้องมีการอธิบายหรือเปิดเผยอย่างชัดเจน
       
       4.Transparency การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกขององค์กรฯจะต้องมีการบันทึกและมีดำเนินการอย่างโปร่งใสสามารถบอกถึงที่มาของข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล การกำหนดขอบเขต ความเป็นมาของการประเมิน การกำหนดค่าต่างๆ การวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อใช้ในการตรวจสอบในอนาคต 
       
       5.Accuracy การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกขององค์กรฯ จะต้องมีความถูกต้องในการวิเคราะห์ และไม่มีการประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำหรือที่สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างน่าเชื่อถือ
       
       ก๊าซเรือนกระจกที่จะต้องนำมาพิจารณา (GHG to be assessed)
       ก๊าซเรือนกระจกที่จะต้องพิจารณามีทั้ง 6 ชนิดภายใต้พิธีสารเกียวโต มีดังต่อไปนี้
       1.Carbon dioxide (CO2)
       2.Methane (CH4)
       3.Nitrous oxide (N2O)
       4.Hydrofluorocarbons (HFCs)
       5.Perfluorocarbons (PFCs) 
       6.Sulfur hexafluoride (SF6)
       
       ก๊าซเรือนกระจกทั้ง 6 ชนิดจะต้องแยกการรายงานการปล่อยของแต่ละชนิดออกจากกันและวัดเป็นหน่วยของ เมตริกตันในแต่ละชนิด และคำนวณเป็น ค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในหน่วยของ เมตริกตันเช่นเดียวกัน การเทียบค่าของก๊าซแต่ละชนิดมาอยู่ในรูปแบบของ CO2eq ช่วยให้เกิดการเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจนโดยใช้ค่า Global Warming Potential (GWP) ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลนำมาใช้ในการเทียบค่า CO2eq โดยค่า GWP นั้นอ้างอิงจาก Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) 



ที่มา:http://www2.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000060131

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น