วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

Carbon footprint ซัพพลายเชนเตรียมรับเละ


สำหรับผู้ส่งออกสินค้าไปยังยุโรป ขอบอกว่า ไม่ง่ายเหมือนก่อนแน่นอน หากท่านเป็น รายย่อย ๆ บรรดากองทัพมดอาจจะยังไม่กระทบโดยตรง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านกำลังจะคิดทำการใหญ่ เช่น เป็นซัพพลายเออร์ให้กับสินค้าแบรนด์เนมในยุโรป หรือเป็นซัพพลายเชนให้กับบริษัทผลิตอาหาร เสื้อผ้า หรืออะไรก็ตามที่จะส่งออกไปยังยุโรป กลับเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า เพราะคาร์บอนฟุตพรินต์จะเป็นอีกมาตรการที่จะกีดกันทางการค้า ทำให้ทั้งรายย่อยรายใหญ่ยิ่งเจ็บปวดที่สุด เรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์ เป็นเรื่องที่พูดกันมาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้คนที่จะส่งออกไปยุโรปตื่นตัว และคราวนี้ก็ดูเหมือนจะเริ่มจริงจังมากยิ่งขึ้น


ต่างประเทศขยับ รับ CO2


จากการประชุมนานาชาติ International Conference/ Workshop on National LCI Database & Carbon Footprint ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8-13 กุมภาพันธ์ 2553 นั้น เป็นการประชุมในเวทีที่มีการพูดกันในหลาย ๆ ประเด็นคือ นานาชาติ เห็นด้วยที่จะมีการผลักดันผลิตภัณฑ์ที่มีป้ายบอกปริมาณการปล่อยก๊าซหรือ คาร์บอนฟุตพรินต์ ที่เห็นได้ชัดคือ ในประเทศฝรั่งเศสกำลังจะออกกฎหมายเก็บภาษีคาร์บอน (17 ยูโรต่อตัน CO2) โดยพยายามจะเริ่มใช้ในปี 2554 ในขณะที่ญี่ปุ่นมีแผนผลักดันเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์ โดยได้มีการทุ่มงบประมาณถึง 1 หมื่นล้านเยนตั้งแต่ปี 2009-2011 โดย 9 พันล้านเยนจะช่วยเอสเอ็มอีในประเทศญี่ปุ่น และอีก 1 พันล้านเยน จะให้ความช่วยเหลือประเทศในแถบเอเชีย ส่วนในจีน และไต้หวัน รวมทั้งบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชีย เช่น ซัมซุง และเอเซอร์ ก็ให้ความสนใจ หรือแม้แต่โลตัส คาร์ฟูร์ วอล-มาร์ตเองก็มีการระบุว่าสินค้าที่สั่งมาจากทั่วโลกจะต้องมีป้ายระบุ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย


ในขณะที่นานาชาติฝั่งซีกโลกตะวันตก นำโดยเยอรมนี บราซิล ได้ผลักดันให้การผลิตเชื้อเพลิงจากการเกษตรต้องมาจากพื้นที่เกษตรยั่งยืน โดยต้องมีการประเมินในเรื่องพื้นที่และผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อม


ประเทศ มาเลเซีย ประกาศ National Green Technology Policy เริ่มในวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 นี้และมีการตั้งกระทรวงใหม่คือ Ministry of Energy Green Technology and Water เพื่อประสานทุกหน่วยงาน (มีแผนทำ Nation CFP ปี 2554-2558)


เกาหลีใต้ ออกกฎหมาย Law Carbon & Green Growth Law เริ่มปี 2010 และจะลด GHG 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2020


และที่น่า สนใจที่สุดก็คือ ISO 14067 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล คาดว่าจะถูกประกาศใช้ภายในปี 2553 นี้


ซัพพลายเชนเตรียมตัว


ผล กระทบของเอสเอ็มอีอยู่ที่ห่วงซัพพลายเชน ซึ่งจะมีผลกระทบอยู่มาก หากเป็นบริษัทที่มีซัพพลายเชน บางรายก็มีการปรับเอาซัพพลายเออร์บางตัวออกไป หรือถ้ามีจำนวนมาก มีผู้ผลิตบางประเทศถึงกับเปลี่ยนตลาดจากยุโรปไปรัสเซียเลยก็มี เพราะไม่มีปล่อยยคาร์บอนฟุตพรินต์ แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนตลาด ราคาระหว่างยุโรปกับรัสเซียก็ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง


ดร.ธำรง รัตน์ มุ่งเจริญ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดและผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ แนะนำว่า เอสเอ็มอีที่จะพัฒนาโปรดักต์ใหม่ ๆ สิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือต้องมีวิธีการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวน การผลิตด้วย เพราะจะทำให้ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์รู้ว่ามีกระบวนการไหนบ้าง ที่ปล่อยคาร์บอนมากหรือน้อย เพราะบางอุตสาหกรรมจะเริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ต้นทาง บางอุตสาหกรรมจะปล่อยในตอนผลิต และบางผลิตภัณฑ์เป็นตอนที่ใช้งาน หรือบางผลิตภัณฑ์จะปล่อยมากตอนเผาทิ้งทำลาย แล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากเรารู้ จะทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถลดการปล่อยก๊าซได้ถูกต้องและแก้ไขได้ถูก ขั้นตอน มากขึ้น
หลากธุรกิจที่มากับคาร์บอน


ในอดีต ที่ผ่านมาเรารู้เรื่องของกรีนโปรดักต์ แต่ในอนาคตเรื่องของคาร์บอนฟุตพรินต์จะทำให้แต่ละประเทศไม่มีพรมแดน โปรดักต์ที่มีเทคโนโลยีที่ลดกระบวนการผลิตคาร์บอนและอีโคดีไซน์จะวิ่งเข้ามา เพื่อนำไปสู่ผลิตภัณฑ์โลว์คาร์บอน


นอกจากนี้ บริษัทที่ปรึกษาในเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะได้รับ ความสนใจ คือจะเริ่มตั้งแต่เก็บข้อมูลในกระบวนการผลิตและประเมินเป็นปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอน ซึ่งในต่างประเทศเองก็มีเทคโนโลยีในเรื่องนี้มานานพอสมควร โดยเฉพาะในอังกฤษเองก็มีที่ปรึกษาทางด้านนี้มากมาย แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจะคิดประมาณ 2.5 แสนบาทต่อปี หรือคิดเปอร์เซ็นต์ตามยอดขายก็มี อีกหนึ่งธุรกิจที่จะตามมาด้วยก็คือที่ปรึกษาด้านอุปกรณ์ ลดการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่จะมาพร้อมกัน


35 บ.ใหญ่ขยับแล้ว


โครงการนำร่องฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ โดยองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการทำดาต้าเบสซึ่งมีกว่า 400 ฐานข้อมูล สำหรับคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ ใน 25 บริษัท อาทิ ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ บจม.เพรสซิเดนท์ไรซ์ โปรดักซ์ ผู้ผลิตมาม่าเส้นหมี่น้ำใสกึ่งสำเร็จรูป บจม.บางซื่อ โรงสีเจี่ยเม้ง ทมจ.ทิปโก้ ฟูดส์ (ประเทศไทย) บจม.คาร์เปท อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ บจม.แอดวานซ์ อะโกร บ.ยาวโอตานิ บจม.เบทาโกร การบินไทย ฯลฯ ที่ถือเป็นโครงการนำร่องผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพรินต์ของไทยเมื่อเมษายน 2552 ที่ผ่านมา
ที่เห็นได้ชัด เช่น บริษัทการบินไทย ซึ่งจะต้องบินไปทั่วโลก ก็ต้องคำนวณด้วยเช่นกันว่าเครื่องบินปล่อยก๊าซคาร์บอน เท่าไหร่ และการบินไทยยังเป็นบริษัทรายแรกของไทย ที่เมนูอาหารระบุค่าคาร์บอนฟุตพรินต์อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบริษัทอีก 35 รายที่ยื่นความประสงค์เข้ามาเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา เช่น บริษัท พรานทะเลมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กลุ่มสหวิริยา จำกัด บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เต็ดตราแพ้ค (ไทย) จำกัด


โดย 35 บริษัทนี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่ง รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ กล่าวว่า ผู้ที่ยื่นความประสงค์จะเข้าโครงการ มาจากหลายสาเหตุคือนโยบายจากบริษัทแม่ที่ส่งสัญญาณมา สองมาจากต้องการความแตกต่างจากคู่แข่งขัน หรือบางรายคู่แข่งมีการปรับไปแล้วจึงรีบปรับตาม หรือเรื่องของภาพลักษณ์ และโอกาสในตลาดต่างประเทศ
วันนี้ผลกระทบไม่ได้อยู่ที่บริษัทใหญ่ แต่บรรดาเอสเอ็มอี ซัพพลายเชนทั้งหลายก็กำลังจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องเตรียมรับมือได้แล้ว วันนี้


ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น