ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases: GHGs) หมายถึง ก๊าซชนิดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และสารประกอบจำพวกฟลูออไรด์ 3 ชนิด คือ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอนและซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ก๊าซเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life cycle assessment: LCA) คือ กระบวนการเก็บรวบรวมและการประเมินค่าของสารขาเข้าและสารขาออก รวมถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ กสรใช้ใหม่/การแปรรูปและการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน กล่าวได้ว่าตั้งแต่เกิดจนตาย (Cradle to grave) โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะหาวิธีการปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ฉลากคาร์บอน (Carbon label) เป็นฉลากที่่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ออกสู่บรรยากาศต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ ผ่านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ที่เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ (เช่น การใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงฟอสซิล วัตถุดิบอื่นๆ) ไปจนถึงการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ (เช่น ของเสียในรูปของกากของเสีย น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ) ซึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมิน เรียกว่า“วัฏจักชีวิตของผลิตภัณฑ์” ดังตัวอย่างฉลากคาร์บอนของประเทศต่างๆ
ฉลากคาร์บอนประเทศอังกฤษ
ฉลากคาร์บอนประเทศญี่ปุ่น
ฉลากคาร์บอนประเทศสหรัฐอเมริกา
ฉลากคาร์บอนประเทศเกาหลี
ฉลากคาร์บอนประเทศไทย
ประเทศไทยควรออกแบบฉลากที่ใช้สีน้อยกว่านี้เพื่อแสดงความจริงใจในการลดปริมาณการสร้างคาร์บอน ถ้าใช้สีเดียวได้น่าจะดีนะคะ
ตอบลบ