คาร์บอนฟุตพรินท์และฉลากคาร์บอน แนะนำขึ้นครั้งแรกในประเทศสหราชอาณาจักรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ภายใต้การกำกับดูแลของ Carbon Trust ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภค/บริโภค โดยห้างเทสโก้เริ่มติดฉลาก Carbon Footprint บอกจำนวนคาร์บอนที่ผลิตบนภาชนะบรรจุสินค้าภายใต้ตราสินค้าเทสโก้ของตนเองประมาณ 20 รายการ
ในประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้พัฒนา “ระบบการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน” (Carbon Reduction Label) มีผู้ประกอบการยื่นใบสมัครแล้ว 16 ราย และมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองแล้ว 25 ผลิตภัณฑ์ใน 5 กลุ่ม คือ ผลิตภัณฑ์อาหารอบแห้ง ซีเมนต์ ข้าวสารบรรจุถุง ไม้ฝา และถุงยางอนามัย
สำหรับการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนนั้นจะใช้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี พ.ศ. 2548 เป็นฐานในการเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2550 มีการแบ่งระดับคล้ายๆกับฉลากไฟเบอร์ 5 ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงในสินค้าแต่ละชนิด กล่าวคือ ฉลากคาร์บอนเบอร์ 1 สีแดง เป็นสินค้าที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยที่สุด คือ ร้อยละ 10 ฉลากเบอร์ 2 สีส้ม ฉลากเบอร์ 3 สีเหลือง ฉลากเบอร์ 4 สีน้ำเงิน ฉลากเบอร์ 5 สีเขียว สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด คือ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ที่มา: “Carbon Footprint Labeling เพิ่มทั้งยอดขายและลดภาวะโลกร้อน” ใน Green Network 1 (Jan 2010) : 34.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น