วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงานในงานเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น


เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสังคม “คาร์บอนต่ำ” (Low-carbon Society) ที่มีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ (1) Carbon Minimization เป็นสังคมที่มีกระบวนการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง (2) Simpler and Richer กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถกระทำได้ง่ายในชีวิตประจำวันและสร้างรายได้ให้แก่สังคม และ (3) Co-Existing with Nature เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องไปกับสภาพแวดล้อมและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และจากแนวคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การจัดการระดับพื้นที่ (Area-based) หรือที่เรียกว่าเมืองลดคาร์บอน (Low-carbon City) กล่าวคือ เป็นการจัดการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเมืองใดเมืองหนึ่งจากฐานเดิมที่ไม่เคยมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก่อน


การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ องค์กรทั่วไปที่ไม่จำกัดขนาดหรือลักษณะของกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นองค์กรของเอกชน องค์กรของรัฐ หรือที่เรียกว่าองค์กรซีเอฟโอ (Carbon Footprint for Organization: CFO) เป็นวิธีการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรและคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับเมือง ระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในประเทศไทยยังมีน้อยมาก เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และไม่ทราบเทคนิคและวิธีการคำนวณ และไม่เคยมีการดำเนินการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อน ดังนั้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จึงได้มีการจัดทำ “โครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองลดคาร์บอน” ขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรฯ อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับท้องถิ่นของไทยในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นเมืองลดคาร์บอน และท้ายสุดเป็นเมืองตัวอย่างของประเทศไทยและของประชาคมโลกต่อไปดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ แห่งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ได้นำทีมนักวิจัยและนักศึกษาของสถาบันดำเนินการศึกษาโครงการนี้โดยเริ่มจากศึกษามาตรฐานการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของต่างประเทศ เช่น มาตรฐาน Greenhouse Gas Protocol ของ WRI/WBCSD, มาตรฐาน ISO 14064-1, ISO/TR 14069 และทบทวนบทความ, วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เป็นประโยชน์สำหรับนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ ทีมวิจัยได้ติดต่อประสานงาน ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่ง คือ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองสีคิ้ว เทศบาลเมืองแกลง และเทศบาลตำบลอัมพวา      ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ แนวทางหรือหลักเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย ตลอดจนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เส้นฐานของกิจกรรมที่สำคัญ และวิธีการตรวจวัด รวมทั้งตัวชี้วัดและเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการเป็นเมืองลดคาร์บอน

สารคดี Carbon Footprint โดย อบก. ตอนที่ 6-10

                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 6


                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 7


                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 8


                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 9


                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 10

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สารคดี Carbon Footprint โดย อบก. ตอนที่ 1-5

                                                

                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 1

                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 2

                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 3

                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 4

                                             คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอนที่ 5

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คาร์บอนฟุตพรินท์ ฉลากตัวเล็กๆ เพื่อแก้ไขปัญหาใหญ่ของโลก

ปัญหาโลกร้อนทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตื่นตัว พยายามคิดค้นหาทางป้องกัน แก้ไขปัญหา และบรรเทาปัญหาผลกระทบ แนวทางหนึ่งที่เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ การแสดงข้อมูล “คาร์บอนฟุตพรินท์” (Carbon Footprintของผลิตภัณฑ์เพื่อสื่อสารไปยังผู้ซื้อและผู้บริโภคด้วยฉลากที่เรียกว่า “ฉลากคาร์บอน” (Carbon Label)
 ในแง่ความหมาย คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
 ในแง่ความสำคัญ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้ภาคการผลิตหาแนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน โดยคาดหวังว่า เมื่อผู้บริโภคมีความเข้าใจและมีข้อมูลเกี่ยวกับคาร์บอนฟรุตพรินท์  (รวมทั้งมีสินค้าเป็นทางเลือกเพียงพอ)  ผู้บริโภคจะใช้ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการเลือกตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ ซึ่งหมายถึงเป็นสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณต่ำกว่า และความต้องการสินค้าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำของผู้บริโภคก็จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการพยายามพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นแนวทางอันหนึ่งที่นำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Society) ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาที่หลายประเทศกำหนดไว้ในนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
 คาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอนได้ถูกพัฒนาและใช้อยู่ในหลายประเทศแล้ว ในกรณีสหราชอาณาจักร ดำเนินงานโดยองค์กรชื่อ “คาร์บอนทรัสต์” (Carbon Trust) เป็นหน่วยงานเอกชนที่จัดตั้งโดยรัฐ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนวางจำหน่ายแล้วมากกว่า 1,000 รายการ สำหรับฝรั่งเศส คาร์บอนฟุตพริ้นท์ถูกริเริ่มและพัฒนาโดยหน่วยงานของรัฐด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ชื่อ “ADEME”  ส่วนฉลากคาร์บอน มีการริเริ่มและพัฒนาเป็นโดยธุรกิจผู้ค้าปลีก Casinoปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนวางจำหน่ายในฝรั่งเศสแล้วมากกว่า 300 รายการ โดยทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะกำหนดให้มีการแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เป็นข้อบังคับทางกฎหมายสำหรับสินค้าทุกประเภทภายในปี 2554     สำหรับในแถบเอเชีย กรณีที่น่าสนใจ คือ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายในเดือนกรกฎาคม 2551 ที่จะพัฒนาประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์และการติดฉลากคาร์บอนเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว มีโครงการนำร่องมากกว่า 40 บริษัท หลังจากนั้นได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และมีการเสนอร่างกฎเฉพาะของผลิตภัณฑ์ 41 รายการ
         ในกรณีประเทศไทย การพัฒนา “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์” (Carbon Reduction Label) ดำเนินงานโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ประกาศใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม2552  ในขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว 16 รายการ มีสินค้าหลากหลายกลุ่ม เช่นเครื่องดื่มกระป๋อง กระเบื้องเซรามิคบุผนัง เส้นด้ายยืดไนล่อน ไก่ย่างบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง เป็นต้น
          มีตัวอย่างงานศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวโดย ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง และคณะ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่แสดงให้เห็นว่า หากทราบข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เราสามารถคิดหาทางเลือกหรือแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกมาก จากการศึกษาวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงขนาด 5 กิโลกรัม พบว่า ปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมมีค่าเท่ากับ 22 กิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสูดในขั้นตอนการปลูกข้าว คิดเป็น 94% ส่วนขั้นตอนการผลิตภาชนะบรรจุและขั้นตอนการสีข้าว มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 2% และขั้นตอนการจัดจำหน่ายเพียง 1%
          คาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงเป็นเครื่องมือเล็กๆ แต่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาใหญ่ของโลก ช่วยให้ข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการก้าวสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาที่กำลังจะกำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11ของประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฉลากคาร์บอนในประเทศไทย

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environmental Institute) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse gas Organization) ได้ร่วมกันริเริ่มโครงการฉลากคาร์บอนขึ้นในเดือน สิงหาคม 2551 ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งฉลากคาร์บอนออกเป็น 2 ประเภท คือ 

ฉลากแบบที่ 1 พิจารณาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (
Cradle to Grave) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนกระทั่งการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินงานจะใช้เวลาค่อนข้างมากเนื่องจากมีกระบวนการประเมินซับซ้อน



                    ฉลากแบบที่ 1 ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์


ฉลากแบบที่ 2 พิจารณาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพิจารณาเฉพาะก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต (Production stages) เท่านั้น (Gate to gate) ซึ่งวิธีนี้จะใช้เวลาในการดำเนินงานน้อยกว่าแบบแรก โดยในช่วงแรกของโครงการจะมุ่งเน้นการออกฉลากคาร์บอนแบบที่ 2 เพื่อให้การดำเนินการออกฉลากกระทำได้รวดเร็ว เพื่อรองรับกระแสของผู้บริโภคในการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน ส่วนการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบทั้งวงจรชีวิตเพื่อการออกฉลากคาร์บอนแบบที่ 1จะถูกดำเนินการในลำดับถัดไป ฉลากคาร์บอนจะแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าหรือบริการนี้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง ค่อนข้างสูง ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ หรือ ต่ำ โดยแสดงผลเป็น 5 ระดับ ด้วยหมายเลข 1 - 5 สินค้าที่ได้ฉลากคาร์บอนเบอร์ 5 คือ สินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศน้อยที่สุดและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ หรืออีกนัยหนึ่งคือสินค้าหรือบริการนั้นมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ ซึ่งระบบฉลากคาร์บอนนี้มีความคล้ายคลึงกับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของกระทรวงพลังงาน



                    ฉลากแบบที่ 2 ฉลากลดคาร์บอน



                         

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คต.เตือน ฝรั่งเศษ ออกมาตรการติดฉลากสิ่งแวดล้อม

        นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป กระทรวงการพัฒนาที่ยังยืนของฝรั่งเศษ (Ministry for Sustainable Development) จะเริ่มโครงการทดลองโดยสมัครใจการติดฉลากสิ่งแวดล้อมบนผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในฝรั่งเศษ เปนเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งมีทั้งบริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเข้าร่วมถึง 168 บริษัท และครอบคลุมกว่า 1,000 ผลิตภัณฑ์ โดยต้องการรณรงค์ฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีการแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก/คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ข้อมูลการบริโภคทรัพยากรทางธรรมชาติอื่นๆ และผล กระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การใช้ การขนส่ง ตลอดจนการกำจัดซาก เพื่อเป็นความรู้ ให้กับผู้บริโภคอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งหลังจากสิ้นสุดการทดลองนี้ จะมีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อพิจารณาถึงแนวทางการออกมาตรการฉลากสิ่งแวดล้อมต่อไป


        นายสุรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ฝรั่งเศษจะประกาศบังคับใช้มาตรการฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าทุกชนิดที่จำหน่ายในฝรั่งเศษในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าซึ่งรวมถึงวัตถุดิบไปฝรั่งเศษจำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของฉลากสิ่งแวดล้อมของฝรั่งเศษหรือเป็นที่ยอมรับของฝรั่งเศษอย่างเร่งด่วน


ที่มา : Energy Saving ปีที่ 3 ฉบับบที่ 31 มิ.ย.54

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มาตรฐานสิ่งแวดล้อมจ่อกีดกันสินค้าไทยเพียบ แนะปรับโครงสร้างการผลิตลดปล่อนคาร์บอน

ภาคเอกชนเตือนผู้ผลิตรับมือมาตรการกีดกันการค้าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เผยทุกภาคส่วนต้องปรับตัวเพราะเป็นการปฏิวัติโครงสร้างการผลิตทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หากไม่เร่งดำเนินการจะเสียศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ชี้อุตสาหกรรมใช้พลังงานสูง “ไฟฟ้า-เหล็ก-ปูน-เซรามิก” กระทบหนักสุด ต้องเร่งปรับกระบวนการผลิตหันมาใช้พลังงานทดแทน ระบุ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์-ISO14067 เตรียมจ่อคุมเข้มสินค้ารักษาสิ่งแวดล้อม
   
       ภาวะโลกร้อนที่คุกคามทุกประเทศอยู่ในขณะนี้ เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งมือช่วยกันแก้ไข โดยเฉพาะภาคการผลิตที่เป็นต้นเหตุสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ของโลกต่างก็นำมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประเทศผู้ผลิตสินค้าปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าประเทศคู่ค้าไม่ปรับปรุงก็จะขายสินค้าได้ยากขึ้น โดยมาตรการล่าสุดที่นำมาใช้จะเป็นการติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่บรรยากาศโลก
   
       สำหรับคาร์บอนฟุตพริ้นท์นี้ จะเป็นมาตรฐานที่วัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางภูมิอากาศที่เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฏจักรชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ นำไปแปรรูป ผลิต จำหน่วย การใช้งาน และการกำจัดผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยจะแสดงข้อมูลไว้บนฉลากคาร์บอนที่ติดบนสินค้าเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่จะใช้นั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด
   
       อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือได้ว่ามีความพร้อมรับมือกับมาตรฐานใหม่นี้ในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ส่งอกอาหารชั้นนำ และปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้มาโดยตลอด ส่วนมาเลเซียพึ่งเริ่ม ขณะที่ประเทศชั้นนำในเรื่องนี้ที่อยู่ในเอเชียก็จะเป็นประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ติดฉลานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหลายสินค้า
   
       ทั้งนี้ล่าสุดไทยมีสินค้าที่ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นนี้แล้ว 110 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็ยบรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ อาหารสัตว์ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก และยาง เป็นต้น นอกจากฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นแล้วไทยยังมีฉลาก Carbon Reduction และได้ติดให้กับสินค้าไปแล้ว 40 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัสดุก่อสร้าง เพราะเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานในการผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็นสิ่งทอ อาหาร พลาสติก และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
   
       เตือนรับมือคาร์บอนฟุตพริ้นท์กีดกันการค้า
   
       ด้าน พรศิลป์ พัชรินทรตนะกุล รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า มาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นเป็นสิ่งที่ไทยไม่สามารถเลี่ยงได้ และจะมีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สินค้าทุกชนิดจะต้องเร่งทำมาตรฐานนี้ให้มีตัวเลขการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยกว่าสินค้าคู่แข่ง เพราะผู้บริโภคในยุโรปตื่นตัวในเรื่องนี้มากเนื่องจากเห็นได้ชัดว่าภาวะโลกร้อนมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมที่จะอุดหนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และในอนาคตจะยกขึ้นมาเป็นมาตรการกีดกันการค้าในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ แต่แตกต่างจากการเจรจาลดภาษีนำเข้า เพราะมีตัวเลขชัดว่าจะลดภาษีกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เรื่องการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ยังไม่มีมาตรฐานชี้วัดที่ชัดเจน
   
       จี้ปรับโครงสร้างการผลิตรับมือ
   
       โดยการที่จะลดคาร์บอนไดออกไซด์นี้ลำพังบริษัทผู้ผลิตทำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องมีความร่วมมือทั้งสายการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ เพราะในแต่ละขั้นตอนต่างก็ปล่อยคาร์บอนต่างกัน ไม่สามารถลดที่ปลายทางฝ่ายเดียวได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติการผลิตครั้งใหญ่ โครงสร้างการผลิตของไทยจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
   
       รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการเจรจากับประเทศคู่ค้า เพราะที่ผ่านมาประเทศที่พัฒนาแล้วจะออกกฎหมายก่อนแล้งจึงนำกฎหมายนั้นมาเจรจา แต่สำหรับไทยไปเจรจาตกลงกันแล้วค่อนออกกฎหมายมารองรับทำให้เสียเปรียบในเวทีเจรจา ซึ่งการเจรจาในเรื่องนี้ไทยต้องพลิกเกมส์ขึ้นมาเป็นฝ่ายรุก ต้องมีข้อมูลต่างๆที่หนักแน่นและมีกฎหมายรองรับเพื่อนำไปตอบโต้ในโต๊ะเจรจา จะทำให้ไทยพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำเกมส์ได้
   
       แนะไทยเร่งออกกฎกันต่างชาติบุกตลาด
   
       สำหรับสถานการณ์ในขณะนี้แม้ว่ายังไม่ได้ออกมาเป็นกฎที่ชัดเจน แต่เป็นช่วงที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะยังไม่มีกติกาที่แน่ชัด แต่ภาคเอกชนร้านค้าต่างๆ เช่น เทสโก้ในยุโรปก็บังคับให้ติดฉลากนี้แล้ว ถ้าสินค้าใดไม่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็จะเข้าสู่ตลาดไม่ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นของไทยก็คือภาคเอกชนต่างไม่ยอมเปิดเผยตัวเลขต่างๆทำให้ขาดฐานข้อมูลในการคำนวน ซึ่งถ้าหากทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและจัดทำมาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของไทยได้สำเร็จ ก็จะเป็นมาตรการที่สำคัญในการกีดกันสินค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีนให้เข้ามาแข่งขันในไทยได้ยากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากจีนหรือประเทศคู่แข่งอื่นๆทำได้ก่อนไทย มีการปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าก็จะเป็นกำแพงกั้นสินค้าไทยได้เช่นกัน
   
       “ไฟฟ้า-เหล็ก-ปูน”กระทบหนักสุด
   
       ส่วนสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้มากที่สุด จะเป็นสินค้าที่ใช้พลังงานมาก เช่น อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า เหล็ก ปูนซิเมนต์ เซรามิก และธุรกิจขนส่ง โดยเพาะโรงไฟฟ้าถ้าไม่ปรับปรุงกระบวนการผลิตปล่อยให้มีปริมาณปล่อยคาร์บอนมากก็จะกระทบไปทุกสินค้า เพราะเป็นต้นทางการผลิตที่สำคัญของทุกสินค้า ดังนั้นแม้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะไม่ได้ผลิตเพื่อส่งออก แต่ถ้าไม่ร่วมมือปรับปรุง ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ในระบบการผลิตได้ ซึ่งภาคเอกชนจะต้องลดการใช้ไฟฟ้าและพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลให้มากที่สุด หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทน จะทำให้ลดการปล่อยคาร์บอนได้มาก
   
       วอเตอร์ฟุตพริ้นท์เตรียมจ่อกันสินค้าอาหาร
   
       อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่มาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะเป็นมาตรการกีดกันที่สำคัญ ในอนาคตยังมีมาตรฐานวอเตอร์ฟุตพริ้น ซึ่งเป็นมาตรฐานการใช้น้ำเข้ามาเป็นกำแพงกีดกันมากขึ้นไปอีกและจะมีการนำมาใช้ในไม่ช้านี้รัฐสภาสหรัฐกำลังพิจารณากฎหมายฉบับนี้อยู่ เพราะทรัพยากรน้ำค่อยๆหมดไปจากโลก โดยเฉพาะในสินค้าอาหารจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะต้องใช้น้ำในปริมาณมากตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ ดังนั้นจะต้องเริ่มจากเกษตรกรที่จะต้องปลูกพืชเลี้ยงสัตว์โดยใช้น้ำให้น้อยที่สุด ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะต้องตื่นตัวเข้ามาผลักดันในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด
   
       ชี้ ISO14067 มาตรฐานใหม่สินค้าโลก
   
       ไม่เพียงแต่มาตรฐานคาร์ฟุตพริ้นท์จะเข้ามาเป็นกำแพงกีดกันสินค้าไทย แต่ในอนาคตอันใกล้ ยังมีมาตรฐาน ไอเอสโอ14067 จะเข้ามากีดกันสินค้าไทย โดย บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า มาตรฐาน ไอเอสโอ 14067 นี้อยู่ระหว่างการการพิจารณาของประเทศสมาชิก ซึ่งถ้าออกมาเป็นมาตรฐานฉบับใหม่แล้วจะมีอิทธิพลทางการค้าในภาคเอกชนมาก เหมือนกับมาตรฐาน ไอเอสโอ ต่างๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ และจะเป็นข้อกีดกันทางการค้าที่สำคัญ เพราะผู้ซื้อจะเรียกร้องมาตรฐานนี้โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะเน้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
   
       อย่างไรก็ตามมาตรฐาน ไอเอสโอ 14067 นี้มีความใกล้เคียงกับมาตรฐาน PAS 2050:2008 ของอังกฤษ ซึ่งผู้ส่งออกไทยจำนวนมากก็สามารถผ่านมาตรฐานนี้ได้แล้วโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร แต่ก็ต้องดูในขั้นสุดท้ายว่าผลสรุปแล้วมาตรฐาน ไอเอสโอ 14067 จะมีความเหมือนและต่างจาก PAS 2050:2008 มากแค่ใหน ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้เร่งเตรียมความพร้อมให้กับธุรกิจขนาดกลางและเล็กให้มีกระบวนการผลิตตามมาตรฐานนี้ ซึ่งถ้ามองในภาพรวมจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะเป็นแรงกดดันให้ทุกภาคการผลิตแข่งขันกันลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซ์ เพื่อทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น



ที่มา: http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9540000048125

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Carbon Footprint สำคัญอย่างไรกับการส่งออกไทย

ผลกระทบของ Carbon Footprint ต่อสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
จากผลการศึกษาของ ดร.ยุวนันท์ สันติทวีฤกษ์และคณะจากฝ่ายวิจัยนโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  พบว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่เริ่มใช้ Carbon Footprint และการออกฉลาก Carbon label ตั้งแต่ปี 2550 – 2551 เพื่อส่งเสริม ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศใช้สินค้าและบริการคาร์บอนต่ำ เพื่อนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas : GHG) รวมของประเทศตามที่ระบุไว้ในพันธกรณี ภายใต้พิธีสาร เกียวโต จึงส่งผลให้ Carbon Footprint มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ที่มิใช่ภาษี  (Non Tariff Barrier) รูปแบบใหม่ที่บริษัทผู้นำเข้าและประเทศคู่ค้าหลักของไทยใช้ในการพิจารณาสั่งซื้อ สินค้า ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อผู้ประกอบการ กล่าวคือ 1) การกดดันจากภาครัฐที่ต้องการสินค้าและบริการ คาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการผลิตและบริโภคแบบยั่งยืน โดยออกโครงการนำร่องการติดฉลาก Carbon Footprint บนผลิตภัณฑ์และบริการ นำมาซึ่งการใช้มาตรการการเงิน อาทิ Carbon tax และ Carbon Malus 2) การกดดันจากนักลงทุนที่จะพิจารณาสั่งซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งร่วมลงทุนกับบริษัทที่สามารถพัฒนา ตนเองให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เช่น พิจารณาจากการจัดทำรายงานการปล่อย GHG ประจำปีของบริษัท และ 3) การกดดันจากผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าและบริการคาร์บอนต่ำ
      ประเทศที่มีกระบวนการติดฉลาก Carbon Footprint แล้ว 
     - เกษตรและอาหาร ได้แก่ ผลไม้ ผัก เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ไวน์ ผลิตภัณฑ์นม ฯลฯ พบฉลากบนสินค้า
ของฝรั่งเศส สเปน เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์และสวีเดน
     - สินค้าอุปโภค ได้แก่ ยาสระผม เจลอาบน้ำ ผงซักฟอก เสื้อยืด cotton เสื้อผ้าเด็ก ฯลฯ พบฉลากบน
สินค้าของสหราชอาณาจักร สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมนี และจีน
     - เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ พบฉลากบนสินค้าของไต้หวัน
     - ผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ พบฉลากบนสินค้าของสหภาพยุโรป
      มาตรการภาครัฐที่สำคัญของตลาดหลักของไทย ได้แก่
      - สหภาพยุโรป มีมาตรการได้แก่ การกำหนดมาตรฐานการปล่อย Co2 ของรถยนต์ใหม่ ว่าไม่ให้เกิน 130 กรัม/กิโลเมตร ภายในปี 2558 และไม่เกิน 95 กรัมภายในปี 2563
      - สหรัฐอเมริกา มีมาตรการ ได้แก่ ห้างค้าปลีก Wal-Mart จะขยายการทำงานร่วมกับผู้ผลิต อาหารและเสื้อผ้าเพื่อลดการปล่อย GHG ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ การขอข้อมูลการปล่อย GHG การใช้พลังงาน วัตถุดิบ จากผู้ผลิตสินค้าทั่วโลกจำนวน 100,000 รายเพื่อพัฒนา Worldwide Sustainable Index ภายในปี 2557 เป็นต้น
      - สหราชอาณาจักร มีมาตรการได้แก่ ห้างค้าปลีก Tesco จะลดการนำเข้าสินค้าด้วยวิธีขนส่งทาง อากาศให้ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของสินค้าทั้งหมด และจะติดฉลาก CF ในผลิตภัณฑ์อาหาร 70,000 รายการ เป็นต้น
      แนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออกไทย      - กลุ่มสินค้า/ประเทศคู่ค้าไทยที่ติดฉลากแล้ว อาทิ สินค้าเกษตร ข้าว ทูน่ากระป๋อง ฯลฯ สินค้าอุตสาหกรรม เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ โดยไทยจะต้องจัดทำฐานข้อมูลและงานวิจัยเพื่อลด GHG การใช้พลังงานทดแทน ฯลฯ เพื่อช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่
     - กลุ่มสินค้าที่ไทยควรเตรียมความพร้อม อาทิ สินค้าเกษตร ยางพารา กล้วยไม้ สินค้า
อุตสาหกรรม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ฯลฯ โดยไทยจะต้อง
ส่งเสริมให้เกษตรกรและโรงงานผลิตยางแบบ Low carbon และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรักษาส่วนแบ่ง
ตลาดที่มีอยู่และเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด
     - กลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มติดฉลาก อาทิ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์กุ้ง น้ำตาลทราย ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ฯลฯ สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯลฯ โดยไทยจะ
ต้องจัดทำฐานข้อมูลระดับชาติเพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการประเมิน Carbon Footprint ของประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด